วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อลาสกันมาลามิวท์ (Alaskan Malamute)


ความสูงเฉลี่ย : 23-25 นิ้ว


น้ำหนักเฉลี่ย : 75-85 ปอนด์


อายุขัยเฉลี่ย : 10-12 ปี


กลุ่มสายพันธุ์ : นอร์ทเทิร์น


อุปนิสัย : ภักดีต่อสมาชิกในครอบครัว รักเด็กในครอบครัวตนเอง และเข้ากันได้กับสัตว์อื่นแต่ต้องมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ต้น ต้องให้เข้าฝึกในสถานฝึกสุนัขที่ผู้มีประสบการณ์หากปล่อยไว้ไม่ฝึกก่อนจะหอนเมื่ออยู่ตามลำพัง


ลักษณะเฉพาะ : ขนชั้นนอกจะยาวและหนามาก ส่วนขนชั้นในก็หนาชุ่มด้วยน้ำมันและอ่อนนุ่ม อาจหนามากถึง 2 นิ้ว สีขนอาจเป็นสีเทาอ่อนและขาว สีดำและขาว หรือสีขาวปลอด


การแปรงขนและการออกกำลัง : การแปรงขนให้ทุกสัปดาห์หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ขนชั้นในจะผลัดปีละ 2 ครั้ง ซึ่งในช่วงผลัดขนนี้ก็จะต้องแปรงขนให้ทุกวัน ต้องคอยกระตุ้นทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ มิฉะนั้นจะก่อความเสียหายเมื่ออยู่ในบ้านและออกไปนอกบ้านได้ การพาออกกำลังทุกวันคือกิจกรรมที่ดีที่สุดที่จะช่วยแก้พฤติกรรมที่ไม่ดีของมันได้


กำเนิด : สุนัขพันธุ์นี้ถูกพวกไอนุอิตที่มีชีวตในช่วง 1000 ปีที่ผ่านมาใช้ให้ทำหน้าที่ลากเลื่อนหรือให้ท่องเที่ยวใปในที่ไกล ๆ ในดินแดนที่มีหิมะปกคลุมและมีอุณหภูมิติดลบ


คำแนะนำพิเศษ : ไม่ควรให้ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์เลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ และก็ไม่ควรเลี้ยงตามห้องชุดที่มีพื้นที่คับแคบด้วย

อากีตะ (Akita)


ควาสูงเฉลี่ย : 24-28 นิ้ว


น้ำหนักเฉลี่ย : 75-110 ปอนด์


อายุขัยเฉลี่ย : 10-12 ปี


กลุ่มสายพันธ์ : นอร์ทเทิร์น


อุปนิสัย : มีความเป็นมิตรกับสมาชิกในครอบครัว แต่ขี้ระแวงคนแปลกหน้า การฝึกให้เชื่อฟังเป็นสิ่งที่ต้องทำแต่เนิ่น ๆ และจะต้องให้ใกล้ชิดกับผู้คนตั้งแต่อายุยังน้อยจึงจะดี บางตัวเข้ากับเด้กได้ดีแต่ต้องเคยใกล้ชิดกันมาตั้งแต่แรกเกิ แต่ทว่าบางตัวก็เข้ากับเด็กไม่ได้เสียเลย ส่วนใหญ่แล้วจะเห่าเมื่อถูกคุกคาม


ลักษณะเฉพาะ : มีได้ทุกสี อาจเป็นสีเดียวโดด ๆ หรือมีสีแซมสองสีหรือมากกว่า เช่น สีดำและสีน้ำตาล เป็นต้น มีขนสองชั้น โดยขนชั้นนอกยาวปานกลางแต่แข็ง ส่วนขนชั้นในอ่อนนุ่มและปุกปุยมาก ส่วนจมูกก็ใหญ่และแข็งแรงลักษณะคล้าย ๆ หมี สำหรับหางนั้นมีลักษณะม้วนขึ้นข้างบนหลัง


การแปรงขนและการออกกำลังกาย : ขนจะดูแลง่าย แปรงให้แค่สัปดาห์ละครั้งก็พอ ส่วนการออกกำลังกายนั้นก็ต้องพาเดินออกกำลังแต่พอประมาณไม่ต้องให้มากนัก โดยอาจพาเดินเล่นช่วงเวลาสั้น ๆ และอาจปล่อยให้วิ่งเล่นตามลำพังบ้างแต่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน


กำเนิด : สืบสายพันธุ์มาจากสุนัที่ละม้ายสปิตซ์ด็อกชนิดหนึ่งที่มีชีวิตอยู่เมื่อราว 5000 ปีมาแล้ว ที่มีชื่อว่า อะกีตะนี้เป็นการตั้งตามชื่อจังหวัดอะกีตะบนเกาะฮอนชูของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งที่นั้นพวกขุนนางในสมัยนั้นใช้มันล่าสัตว์ตัวโต ๆ


ข้อแนะนำพิเศษ : อะกีตะไม่เหมาะสำหรับเจ้าของที่ขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงสุนัข โดยเฉาพะมันจะก้าวร้าวกับสุนัขอื่น ต้องคอยระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษเมื่อพาเดินออกนอกบ้าน

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Airedale Terrier (แอร์เดลเทอร์เรียร์)




ความสูงเฉลี่ย : 22-23 นิ้ว



น้ำหนักเฉลี่ย : 45-50 ปอนด์



อายุขัยเฉลี่ย : 12-14 ปี



กลุ่มสายพันธุ์ : เทอร์เรียร์



อุปนิสัย : ขี้เล่น กล้าหาญ เข้ากับเด็กได้ดี แต่ก็อาจดื้อรั้นเอากับเจ้าของบ้าง นอกนั้นก็อาจก้าวร้าวกับสุนัขตัวอื่นได้ ต้องได้รับการฝึกและให้สมาคมกับสัตว์อื่น ๆ ตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ ใช้เป็นสุนัขเฝ้าบ้านก็จะทำหน้าที่ดีเยี่ยม พอเห็นคนแปลกหน้าก็จะเห่าเอาไว้ก่อน แต่พอเจ้าของปรามมันก็จะเชื่อและหันมาเป็นมิตรกับคนแปลกหน้านั้น



ลักษณะเฉพาะ : มีขนสองชั้น ขนชั้นนอกแข็งกระด้าง ส่วนขนชั้นในอ่อนนุ่ม สีขนอาจเป็นสีน้ำตาลและดำ หรือสีน้ำตาลและเทาแก่ ขนที่บริเวณศีรษะ หู และที่หนวดเครามักเป็นสีนำตาล



การแปรงขนและการออกกำลังกาย : ไม่จำเป็นต้องแปรงขนมากก็ได้ สำหรับที่จะใช้ประกวดเขาจะใช้วิธีเอามือลูบขนที่หลุดออกจากตัวเท่านั้นก็พอ แต่ต้องขนตัดแต่งขนบ้างเป็นครั้งคราว ส่วนในเรื่องออกกำลังกายนั้น ก็ต้องพาออกเดินเล่นทุกวัน และปล่อยให้วิ่งเล่นเองบ้าง ก็จะช่วยให้มันร่าเริงยิ่งขึ้น



กำเนิด : กำเนิดตามลุ่มแม่น้ำแอร์ในยอร์กเชียร์ประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยการผสมพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์แบล็กแอนด์แทนเทอร์เรียร์กับสุนัขอ็อตเตอร์ฮาวนด์ ผลของการผสมพันธุ์ดังกล่าวทำให้เกิดสุนัขมีลักษณะพิเศษ คือ ไม่กลัวสิ่งใด มีความอดทนและชอบน้ำเย็นเป็นน้ำแข็ง

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Afghan Hound (อัฟกันฮาวนด์)


ความสูงเฉลี่ย : 25-27 นิ้ว


น้ำหนักเฉลี่ย : 50-60 ปอนด์


อายุขัย : 12-14 ปี


กลุ่มสายพันธุ์ : ไซ้ท์ฮาวนด์


อุปนิสัย : เหมือนไซ้ท์ฮาวน์ทั่วไป คือโดยทั่วไปสุภาพเรียบร้อย แต่ไม่ชอบคนแปลกหน้านัก เป็นมิตรกับสัตว์อื่นส่วนใหญ่ แต่ก็อาจวิ่งไล่แมวที่ไม่มักคุ้นกันมาก่อน มีความไวต่อเสียงประหลาดมาก จะต้องให้ทำความคุ้นเคยกับสัตว์ต่าง ๆ เอาไว้ และต้องฝึกให้เชื่อฟังเจ้าของตั้งแต่อายุยังน้อย


ลักษณะเฉพาะ : มีขนยาวรุ่มร่าม มีสีตั้งแต่บลอนด์ทองอ่อนและบลอนด์ทองเข้มไปจนถึงสีดำ ลักษณะขนเป็นมันวาววับ ยกเว้นขนสั้น ๆ ที่อยู่บนหลัง


การแปรงขนและการออกกำลัง : ควรแปรงขนให้ทุกวัน กับควรพาเดินออกกำลังกายทุกวัน และควรมีบริเวณรั้วรอบของชิดพอที่จะปล่อยให้วิ่งเล่นบ้างสัปดาห์ละหลาย ๆ ครั้ง ก็จะช่วยฝึกนิสัยได้เป็นอย่างดี


กำเนิด : สุนัขชั้นสูงสายพันธุ์นี้จะปรากฏตัวบนเวทีประกวดสุนัขเป็นประจำ แต่ที่เลี้ยงไว้เป็นเพื่อนก็พอมี มีถิ่นกำเนิดในภูเขาต่าง ๆ ของประเทศอัฟกานิสถาน ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยถูกใช้ให้ล่าสัตว์ใหญ่ที่วิ่งเร็ว ๆ

Affenpinscher (แอฟเฟ็นพินเชอร์)


ความสูง: 9-11.5 นิ้ว
น้ำหนักเฉลี่ย : 7-10 ปอนด์

อายุขัยเฉลี่ย : 14-16ปี

กลุ่มสายพันธุ์ : คอมแพเนียนด็อก

อุปนิสัย :ซื่อสัตย์ต่อสมาชิกครอบครัว เข้ากับเด็กได้แต่ต้องสุภาพไม่ทําอะไรรุนแรง แต่ก็ยากที่จะฝึกสักหน่อย เข้ากับสัตว์อื่นๆ ได้แต่ต้องให้คุ้นเคยกันมาตั้งแต่เล็กๆ มีนิสัยมุ่งมั่นไม่กลัวเกรงอะไร ระวังระไวคนแปลกหน้าและบางทีก็จะกัดเอาเสียด้วยซ้ำไป มักจะทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้าบ้านได้ดี

ลักษณะเฉพาะ : มีขนแข็งสั้นและหนาทึบตามร่างกาย แต่ขนจะยาวรุ่มร่ามที่บริเวณหน้า ที่ขาและที่หน้าอก สีขนจะดำ เทา สีเงิน หรือสองสีคือดำกับน้ำตาล

การแปลงขนและการออกกำลัง : เป็นสุนัขที่ไม่ค่อยจะมากเรื่อง เพียงแต่ต้องพาเดินออกกำลังกายทุกวัน ส่วนขนก้ต้องคอยแปรงให้ทุกสัปดาห์ และคอยตัดแต่งขนให้ 2-3 เดือนต่อครั้งก็ใช้ได้แล้ว

กำเนิด : ไปปรากฏตัวอยู่ในทวีปยุโรบในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยถูกใช้ให้ทำหน้าที่ล่าหนู ไม่ทราบเรื่องถิ่นกำเนิดที่แน่นอน แต่สังเกตที่ชื่อว่า "แอฟเฟ็นพินเชอร์" ซึ่งเป็นภาษาเยอรมันและเเปลว่า สุนัขลิง บ่งบอกว่ามีสายพันธ์กับประเทศเยอรมนี

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

Noisette



Maturation du fruit
Sur le plan botanique, la noisette est un akène doté d’un péricarpe ligneux appelé "écale" et renfermant une seule graine volumineuse. Ce fruit, de forme plus ou moins ovoïde, est protégé avant maturité complète par une enveloppe de forme tubulaire, l’involucre, d’aspect foliacé et divisé en lobes irréguliers.
Les noisettes sont généralement groupées avec leurs involucres en petites grappes de deux ou trois fruits appelées « trochets ». Peu avant la maturité du fruit, l’
involucre s’assèche et s’ouvre à une extrémité, exposant le péricarpe à l’air où il va durcir et se colorer, pendant que la graine se concentre en sucres, en huile et en minéraux. Cette maturation a lieu en automne, et la cueillette (par l’homme, mais aussi très prisée par de nombreux animaux à cause de ses valeurs nutritives) peut avoir lieu entre la fin du mois d’août et en septembre, lorsque les trochets se détachent facilement des branches.
Une fois séchée, l’involucre se détache facilement de la coque dure, qui va conserver l’amande durant des mois.

Consommation
La coque n’est pas consommable, mais l’amande qu’elle contient est délicieusement parfumée, consommée comme fruit sec à l’apéritif ou en dessert. Elle est aussi souvent utilisée rapée en poudre, concassée, ou coupée en copeaux, en pâtisserie et confiserie sous diverses formes. On en extrait également une huile comestible mais sujette au rancissement.
Les noisettes sont très énergétiques, et très recommandées pour les sportifs. La noisette est idéale à combiner avec les amandes, les noix et les raisins secs. Les noisettes ont très bonne réputation pour les minéraux, oligo-éléments et son huile végétale.
On les ouvre à l’aide de
casse-noisettes.
Il est notable que la grande majorité de la production mondiale soit achetée par la seule société
Ferrero, afin de répondre à la demande de Nutella. De ce fait, la majeure partie des noisettes est consommée en association avec du cacao sous forme de pâte à tartiner.

Cerise


Histoire
Les populations européennes connaissaient et consommaient depuis au moins le IVe millénaire av. J.-C., une variété de cerise autochtone, celle du merisier sauvage. La sélection permettant peu à peu de sélectionner ceux aux fruits les plus gros et les plus sucrés, les plus précoces ou les plus succulents.
Le grand gastronome
romain Lucullus est le premier à en avoir parlé. Selon la légende il aurait rapporté la « perle rouge » à Rome au retour de sa campagne contre le roi du Pont Mithridate VI (vers 70 av. J.-C.). Considérant que certaines variétés de cerise moderne sont originaires d'Asie mineure, cela peut être vraisemblable. Par ailleurs, le nom italien de la cerise, ciliegia rappelle effectivement le nom de la région de Cilicie, en Asie mineure. Cependant le cerisier était déjà connu des Grecs qui le nommaient kerasion, d'après la ville aujourd'hui appelée Giresun ou Cerasonte.
En
turc on désigne la cerise par le mot "kiraz" qui vient du nom antique de la ville "kerasous". En français cerise, en anglais cherry, en espagnol cereza viennent également de ce nom antique de la ville.
Jules Verne, dans un ouvrage peu connu "Kéraban-le-Têtu", fait passer ses héros le long de la mer Noire en direction d'Istanbul, ils traversent une ville nommée Kérésoum où « le cerisier abonde ». Il mentionne que le bois de ces arbres est aussi utilisé pour faire des pipes.
En
France, il fut cultivé pour le commerce dès le haut moyen-âge, ses fruits délicats et sucrés étaient appréciés, mais aussi son bois, à la texture et à la finesse délicate. Cependant c'est à Louis XV, qui aimait beaucoup ce fruit, que l'on doit l'optimisation et la culture intensive du cerisier moderne.

Variétés
Il existe de nombreuses variétés de cerises réparties en deux catégories, les douces et les acides. Plus de deux cents variétés de cerises sont vendues sur les marchés en Europe, auxquelles il faut ajouter autant de variétés très locales, génétiquement différenciées au cours du temps, en fonction de l'acidité des sols et des divers essais de greffons.
Parmi les douces, (les cerises proprement dites) on trouve les
bigarreaux qui sont des fruits doux fermes et sucrés, avec une infinité de variétés (burlat, napoléon, cerise de Céret, noire de Méched, Guillaume, Reverchon, summit, hedelfingen...).
Parmi les acides, on trouve les
guignes à la chair molle, les griottes particulièrement acidulées, les merises, et les cerises sauvages, au nombre de trois variétés :
Les
amarelles, essentiellement la cerise de Montmorency
Les griottes, dont la plus connue est la griotte du Nord
La cerise anglaise, peu consommée car très aigre


Datte


La datte est le fruit comestible du palmier-dattier (Phœnix dactylifera, L.). C'est un fruit charnu, oblong, de 4 à 6 cm de long, contenant un noyau allongé, marqué d'un sillon longitudinal. Commercialisée le plus souvent sous forme de datte sèche, c'est un fruit très énergétique.
Le terme « datte » dérive du
grec ancien dáktylos, doigt, en référence à la forme de ce fruit.
Sur le plan
botanique, la datte est une baie, car son péricarpe est entièrement charnu. Le « noyau » de datte, enveloppé dans l'endocarpe membraneux, est en fait une graine très dure, à albumen corné.
Lors de la récolte, elle se présente en régime (issu de l'inflorescence femelle) pouvant regrouper une centaine de rameaux et plusieurs centaines de dattes.
La datte fraîche, telle qu'elle est quand elle arrive à maturité, est un fruit fragile et délicat à transporter. Elle est riche en
vitamine C. La datte sèche est plus fortement déshydratée, elle contient environ 20 % d'eau, contre 70 % pour la datte fraîche. Sa valeur énergétique est de 287 kcal par 100 g. Elle est très riche en sucres (glucose, fructose et saccharose). Elle contient également des vitamines (B2, B3, B5 et B6) et une faible quantité de vitamine C, des sels minéraux (potassium et calcium), ainsi que des fibres.
La variété (le cultivar en fait) la plus répandue sur les marchés européens (en provenance d'Afrique du Nord) est la
deglet nour, déjà favorisée par les administrations coloniales, puis étatiques.

Corossol




Le corossol est le fruit du corossolier, Annona muricata, de la famille des Annonaceae qui pousse en Afrique, en Amérique et en Asie. Il mesure jusqu'à 30 cm de long et peut peser jusqu'à 2.5 kg. Son aspect extérieur est d'un vert sombre du fait de son écorce piquée d'épines et sa chair est blanche et pulpeuse avec des graines noires indigestes.
La chair du corossol est comestible et a un goût à la fois sucré et acidulé - type Malabar-. Cela en fait un fruit exploité dans l'agro-alimentaire pour la confection de glaces.
Alors qu'il est d'un goût bien différent, le corossol est parfois confondu avec la
pomme-cannelle ou paw paw, fruit d'une autre espèce d'annonacée.
Sur le plan
diététique, le corossol est riche en glucides, notamment en fructose et il contient des quantités assez importantes de vitamine C, vitamine B1, et vitamine B2.
Tout comme les feuilles de la plante, la chair et les graines du corossol sont utilisées en
médecine traditionnelle, dans de nombreuses traditions médicales. Les principales indications dans le cadre de médecines populaires sont les troubles du sommeil, les troubles cardiaques, les maladies parasitaires, les ectoparasitoses.
Les graines du corrossol sont également utilisées au Guatémala, dans la région de Livingston, pour l'artisanat local (commerce équitable) dans une tribu indienne au bord du Rio Dulcé (sculpture de tortues, lamantins, toucans et chouettes.


Risque sanitaire
L'équipe du Dr Dominique Caparros-Lefèbvre a montré dans une série d'études initiée en 1999[1] que la consommation de corossol (et de ses feuilles infusées), ainsi que celle d’autres espèces appartenant au même genre botanique était potentiellement la cause d’une forme de parkinsonisme atypique (paralysie supranucléaire progressive, PSP) résistante aux thérapies classiques basées sur un apport de L-DOPA. Ainsi en Guadeloupe, où l'étude initiale a été menée, 77% des patients parkinsoniens présentaient une forme atypique (contre 20% dans la population normale). En faveur de cette hypothèse, les médecins ont observés que la cessation de consommation de corossol entraînait une cessation de la progression des symptômes (voire même une amélioration chez l'un des patients).
Une telle augmentation des formes atypiques de parkinsonisme avait déjà
été observée sur l'île de
Guam où le parkinsonisme était associé à une sclérose latérale amyotrophique. Dans ce dernier cas, des facteurs environnementaux (notamment la forte concentration d'aluminium dans l'eau de consommation, ou encore l'implication de toxines bactériennes via la chaîne alimentaire) avaient été invoqués pour expliquer ce phénomène mais il se pourrait que la consommation de plantes de la famille des Annonaceae dans l'alimentation ou la médecine traditionnelle soit en partie responsable de l'augmentation de la fréquence de parkinsonismes atypiques.
Les composés potentiellement responsables de la dégénérescence neuronale ont été identifiés, et appartiennent à deux classes chimiques très différentes. D’une part, des
alcaloïdes de types benzyl-tétrahydroisoquinoléique et apparentés, de faible puissance en tant qu’inducteurs d’une mort neuronale par apoptose, mais pouvant participer à la symptomatologie chez les patients, ont été identifiés il y longtemps au sein des fruits. Plus récemment, des acétogénines ont été détectées dans le fruit . L’annonacine, représentant majoritaire de cette famille d’inhibiteurs de la respiration mitochondriale au sein de l’espèce, a montré une neurotoxicité importante in vitro et in vivo . Des études complémentaires, notamment épidémiologiques, restent nécessaires avant de conclure de manière formelle à l'implication de ces toxines dans les pathologies guadeloupéennes.



วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การเลือกพันธุ์สุนัข

ก่อนจะเลือกสุนัขพันธุ์ใดมาเลี้ยงเราก็จะต้องพิจารณาองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านประกอบกัน เช่น สุนัขบางพันธุ์มีแนวโน้มจะเห่าเสียงดัง บางพันธุ์อยู่กับเด็กไม่ได้ บางพันธุ์ต้องให้ออกกำลังมาก ๆ บางพันธุ์ต้องแปรงขนให้บ่อย ๆ เป็นต้น จากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ก็พอจะทำให้เราเข้าใจว่าสุนัขพันธุ์ที่เราจะนำมาเลี้ยงมันจะเข้ากับวิถีชีวิตของเราได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราต้องอยู่ในเมืองหรือในห้องชุด แต่สุนัขบางพันธุ์เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงในบรรยากาศแบบชานเมืองหรือแบบชนบท เราก็ไม่ควรนำมาเลี้ยง ควรเสาะแสวงหาพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตในเมืองหรือในห้องชุดได้มาเลี้ยง อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อเลี้ยงสุนัขไว้แล้วต้องหมั่นพามันไปพบสัตว์แพทย์ตามห้วงเวลาต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักประกันในความมีสุขภาพดีของมัน ลูกสุนัขต้องได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงระหว่าง 6-16 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ นอกจากนั้นก็ต้องคอยระวังป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และโรคพยาธิในลำไส้ ซึ่งสุนัขที่มีพยาธิจะแสดงอาการให้เห็นคือมันไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่าที่ควรแม้ว่าจะให้สารอาหารเป็นอย่างดีแล้ว และจะมีอาการอาเจียนและท้องเสียเป็นระยะ ๆ ให้ได้เห็น พยาธิอีกอย่างหนึ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษคือพยาธิหัวใจซึ่งติดต่อจากการถูกยุงกัด ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ด้วยการให้รับประทานยาในช่วงฤดูที่มียุงชุกชุม ส่วนสัตว์ประเภทปาราสิตที่อาศัยอยู่กับสุนัขก็คือเห็บและหมัด จะต้องคอยกำจัดทั้งที่อยู่ในตัวสุนัขโดยตรงหรือทีอยู่ตามสถานที่อยู่ของสุนัขนั้นด้วย
สุนัขระบายความร้อนทางเหงื่อไม่ได้ แต่จะใช้ลิ้นระบายความร้อน สุนัขที่สุขภาพดีสามารถสังเกตได้จากจมูกคือจมูกของมันจะชื้น แต่ถ้าสุนัขป่วยหรือเกิดผิดปกติจมูกของมันจะแห้ง เราต้องรีบพาไปหาสัตว์แพทย์
สุนัขที่ผ่านการฝึกฝนดีแล้วจะเป็นเพื่อนของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักในการฝึกนั้นก็จะต้องทำอย่างต่อเนื่องและคงเส้นคงวา และเมื่อสุนัขปฏิบัติได้ตามคำสั้งก็จะต้องมีการให้รางวัลเสียด้วย เจ้าของอาจฝึกฝนสุนัขของตนเองก็ได้แต่ก็ต้องมีความรู้และมีประสบการณ์ที่จะฝึกสุนัขพอสมควร หากพอมีเงินมีทองเหลือใช้ก็ควรจะส่งไปฝึกในโรงเรียนฝึกสุนัขหรือศูนย์ฝีกสุนัขของเอกชนซึ่งมีอยู่หลายแห่งในบ้านเรา ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โรงเรียนหรือศูนย์ฝึกเหล่านี้จะมีครูฝึกที่ชำนาญการช่วยฝึกฝนสุนัขของเราให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดีได้

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ลักษณะเฉพาะของสุนัข

สุนัขแตกต่างกันทางด้านลักษณะภายนอกยิ่งกว่าทางด้านโครงสร้างทางกายภาพ สุนัขที่โตเต็มที่แล้วอาจมีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไปจนถึง 99 กิโลกรัม(4-220ปอนด์)ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ และจะมีความสูงตั้งแต่ 12.5 เซนติเมตรขึ้นไปจนถึง 90 เซนติเมตร (5-35 นิ้ว) ข้อแตกต่างอื่น ๆ ของสุนัข ได้แก่ ความแตกต่างในเรื่องความยาวของขา ความยาวของจมูก ขนาดและลักษณะของหู (หูต้ง หูตูบ) ความยาวรูปลักษณ์และเรียวหางความยาวความหนาสีและลักษณะขน สุนัขได้รับการผสมพันธุ์หลากหลายสายพันธุ์เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่ภารกิจต่าง ๆ
สุนัขเพศเมียจะเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุระหว่าง 7-18 เดือน แม่สุนัขจะตั้งท้องอยู่ระหว่าง 62-63 วัน เมื่อแรกเกิดลูกสุนัขจะยังมองอะไรไม่เห็นเพราะยังไม่ลืมตา แต่จะเริ่มลืมตาราววันที่ 10 หลังคลอด ลูกสุนัขจะหย่านมในสัปดาห์ที่ 6 หลังคลอด สุนัขจะโตเต็มที่เมื่ออายุ 2 ปีและถือว่าแก่เมื่ออายุ 12 ปีและอายุจะยืนยาวอยู่ได้ไม่เกิน 20 ปี สุนัขมีประสาทสัมผัสที่สำคัญยิ่งคือประสาทสัมผัสทางหู ส่วนประสาทตานั้นจะไม่ค่อยดีโดยเฉพาะคือมันแยกแยะสีต่าง ๆ ไม่ค่อยออก สุนัขโตเต็มที่มีฟันทั้งหมด 24 ซี่ รวมทั้งฟันกรามที่ใช้บอดอาหารนั้นด้วย

ประโยชน์ของสุนัข

สุนัขได้รับการผสมพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์หลากหลายซึ่งมิใช่เพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่นเท่านั้น การที่สุนัขมีประสาทสัมผัสทางหูและทางจมูกที่ไวมากทำให้พวกมันมีคุณค่าในด้านใช้ล่าสัตว์ ใช้เป็นสุนัขตำรวจ ใช้เป็นสุนัขสงคราม ใช้สะกดรอยตามหาคนหรือสิ่งของ ใช้ให้เฝ้าเวรยาม ใช้ให้รักษาความปลอดภัย และใช้ให้ค้นหายาเสพติด เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วเราก็ยังใช้สุนัขให้ทำหน้าที่นำทางคนตาบอดและนำทางคนพิการ ใช้เป็นสุนัขลากเลื่อนในดินแดนที่มีหิมะตกมากทางขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ และใช้เป็นสุนัขวิ่งแข่งกันและเป็นสุนัขกัดกัน เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วในทางการแพทย์ท่านผู้รู้ยังแจกแจงด้วยว่า การเลี้ยงสุนัขนี้ยังเป็นหนึงในโครงการที่นำมากใช้เพื่อช่วยบำบัดโรคจิตประสาทให้แก่ผู้ป่วยโรคจิตได้ผลชะงัดอีกด้วย

สายพันธุ์สุนัข

สโมสรสุนัขอเมริกันให้การรับรอบสุนัข 140 สายพันธุ์ โดยแยกออกเป็น 7 ประเภทดังนี้
1.สปอร์ตติ้งด็อก(sporting dogs)
2.ฮาวนด์(hounds)
3.เวิร์กกิ้งด็อก(working dogs)
4.เทอร์เรียร์(terriers)
5.ทอย(toys)หรือคอมแพเนียน(companion dogs)
6.น็อนสปอร์ตติ้งด็อก(nonsporting dogs)
7.เฮิร์ดดิ้งด็อก(herding dogs)
สโมสรสุนัขอเมริกันดังกล่าว ได้ขึ้นทะเบียนลูกสุนัขสายพันธ์แท้ปีละกว่า 1.3 ล้านตัว สำหรับสายพันธุ์ที่เป็นยอดนิยมในสหรัฐอเมริกาเมื่อไม่นานมานี้มี 6 พันธุ์ดังนี้
1.ลาบราดอร์รีทริฟเวอร์(Labrador retrievers)
2.ร็อตต์ไวเลอร์(Rottweilers)
3.เจอรมันเชพเพิรด์ด็อก(German shepherd dogs)
4.โกลเด็นรีทริฟเวอร์(Golden retrievers)
5.พูเดิล(poodles)
6.ค็อกเกอร์สเปเนียล(cocker spaniels)
ส่วนสโมรสรสุนัขอังกฤษได้ขึ้นทะเบียนสุนัขไว้กว่า 210 สายพันธุ์ และสมาพันธุ์สุนัขสากลซึ่งมีชาติต่าง ๆ เป็นสมาชิกประมาณ 70 ประเทศ ได้ขึ้นทะเบียนสุนัขไว้กว่า 400 สายพันธุ์ เฉพาะในสหรัฐอเมริกาจำนวนสุนัขทั้งที่เป็นพันธุ์แท้และพันธุ์ผสม(หรือพันทาง)มีจำนวนประมาณ 30 ล้านตัว สำหรับในประเทศไทยของเรา สมาคมพันธุ์สุนัข(ประเทศไทย)ให้ข้อมูลว่ารับจดทะเบียนสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ เพียง 15,000 ตัวในแต่ละปีเท่านั้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนัข

ประวัติศาสตร์
สัตว์ตระกูลสุนัขมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Canidae อยู่ในออร์เดอร์ Carnivora เฉพาะในส่วนที่เป็นสุนัขบ้าน(domestic dogs)ที่เราจะกล่าวถึงนี้ เรียกชื่อทางวิทยาศาสตร์ Canis familiaris
สุนัขเป็นสัตว์พื้นเมืองของเกือบจะทุกส่วนของโลก ยกเว้นเฉพาะที่ทวีปออสเตรเลียและที่หมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทร เช่น นิวซีแลนด์ นิวกินี และมาดากัสการ์ แม้แต่สุนัขพันธุ์ดิงโกที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า C.dingoของนิวกินี ซึ่งเชื่อกันในปัจจุบันว่าเป็นบรรพบุรุษของสุนัขบ้านนี้ก็ไม่ได้เป็นสัตว์พื้นเมืองที่เกิด ณ ที่เหล่านั้นโดยตรง แต่ทว่าถูกคนโบราณในยุคต้น ๆ นำเข้าไปยังเกาะนั้น ๆ
สุนัขบ้านนี้ เชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากสัตว์คล้ายหมาป่าที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 7 ล้านปีล่วงมาแล้ว ในประวัติศาสตร์ระบุไว้ชัดว่าสุนัขเป็นหนึ่งในบรรดาสัตว์เลี้ยงใยบ้านในยุคแรก ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มาช้านานราว 10,000ปี เมื่อถูกนำมาเลี้ยงในบ้านแล้วสุนัขก็ได้รับการคัดเลือกให้ผสมพันธุ์กันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ และสามารถสืบค้นหาซากของสุนัขย้อนไปในยุคแรก ๆเมื่อตอนปลายยุคหินกลาง ซึ่งสุนัขในยุคแรก ๆ เหล่านี้มีรูปร่างคล้ายกันสุนัขพันธุ์ดินโกอันเป็นสุนัขป่าพันธุ์พื้นเมืองของออสเตรเลียในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันพอที่จะนำมายืนยันถึงจุดเริ่มต้นของความสัมพันธุ์ระหว่างมนุษย์กับสุนัขว่ามีกันมาตั้นแต่เมื่อใด