วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำศัพท์(8)

Règlement (n.m.) กฏ (กม.ทั่วไป)
règlement หมายถึง กฏ ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร
ในฝรั่งเศส ลำดับชั้นของกฎหมายเป็นไปตามทฤษฎีของ นักกฎหมายออสเตรีย Hans KELSEN (1881-1973) ที่เรียกว่า ทฤษฎีปิรามิด (Piramide des normes หรือ Hiérarchie des normes) กล่าวโดยสรุปคือ

-Constitution (รัฐธรรมนูญ) มีค่าสูงสุด ตามด้วย
-Convention internationale (สนธิสัญญาต่างๆ ที่ได้รับการอนุวัตการ (ratification) แล้ว) ตามด้วย
-Loi (รัฐบัญญัติ) และ Ordonnance(รัฐกำหนด)ตามด้วย
Règlement ต่างๆออกโดยฝ่ายบริหาร เช่น Décret(ออกโดยอาศัยอำนาจจากรัฐธรรมนูญ หรือ รัฐบัญญัติ โดยประธานาธิบดี หรือ นายกรัฐมนตรี ), Arrêté (ออกโดยรัฐมนตรี, Préfet หรือ ผู้มีอำนาจใน département (อาจเทียบได้กับจังหวัด), Maire หรือ นายกเทศมนตรี เป็นต้น) จะมีศักดิ์ต่างกันตามลำดับ โดยขึ้นอยู่กับผู้ออก เช่น arrêté ministérielle ซึ่งออกโดยรัฐมนตรี จะมีศักดิ์สูงกว่า arrêté municipale ซึ่งออกโดยนายกเทศมนตรี เป็นต้น กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดกับกฎหมายที่มีลำดับสูงกว่าไม่ได้ โดยอำนาจการพิจารณาว่ากฎหมายลำดับที่ต่ำกว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ (Conseil Constitutionnel) หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ากฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นจะตกไป แต่อย่างไรก็ดี การพิจารณาว่า Règlement และคำสั่งทางปกครองขัดรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าหรือไม่เป็นอำนาจของศาลปกครอง เนื่องจาก กฎหมายต้องการให้ศาลปกครองเป็นผู้ตรวจสอบฝ่ายปกครองโดยตรง ส่วนที่เหลือ กรณีพิจารณาว่า Loi ขัดกับสนธิสัญญาหรือไม่ นั้น เป็นอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ผู้ที่จะขอให้ศาลพิจารณาได้ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีดังกล่าวด้วย และคำตัดสินจะมีผลเฉพาะกับคู่กรณีเท่านั้น ไม่ได้ทำให้กฎหมายนั้นตกไป(โปรดดูเรื่องลำดับศักดิ์ของหลักกฎหมายทั่วไป หรือ Principes généraux du droit ประกอบ)
รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสได้บัญญัติขอบเขตอำนาจในการตรากฎหมายของรัฐสภา (domaine de la loi) ไว้ในมาตรา 34 ตัวอย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยสัญชาติ สภาพบุคคล ความสามารถของบุคคล ทรัพย์ หนี้ การคุ้มครองเสรีภาพ การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร การกำหนดโทษอาญา(ยกเว้นลหุโทษ) การกำหนดอัตราภาษี การโอนบริษัทต่างชาติเป็นของรัฐ เป็นต้นส่วนขอบเขตอำนาจของฝ่ายบริหารนั้น รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในมาตรา 37 ว่า ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตรากฏ (règlement autonome) ในทุกกรณีนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34นอกจากนี้ มาตรา 38 บัญญัติว่า หากมีเหตุจำเป็นหรือฉุกเฉิน รัฐสภาสามารถอนุญาตให้ฝ่ายบริหาร ออกกฏในส่วนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 ได้ โดยออกเป็น ordonnance

Beagle(บีเกิล)


ความสูงเฉลี่ย : 13-15 นิ้ว


น้ำหนักเฉลี่ย : 18-30 ปอนด์


อายุขัยเฉลี่ย : 13-14 ปี


กลุ่มสายพันธุ์ : เซ้นท์ฮาวด์


อุปนิสัย : เป็นสุนัขยอดนิยมพันธุ์หนึ่งของโลก เพราะเป็นมิตรกับทั้งคนและสัตว์อื่น รักเด็ก ไม่ต้องพาออกกำลังมากก็ได้ และสามารถปรับตัวกับชีวิตในเมือง ชานเมือง หรือชนบทได้ทั้งนั้น แต่ก็ควรให้คุ้นเคยกับผู้คนและสัตว์ตลอดจนฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งตั้งแต่เล็ก ๆ เพราะมีนิสัยชอบตระกุยขุดรูตามสนามหญ้าและชอบเห่าหอน และมักเดินตามกลิ่นไปตามที่ต่าง ๆ


ลักษณะเฉพาะ : รูปลักษณะคล้ายมีนิอะเชอร์ฟ็อกซ์ฮาวนด์ มีขนแข็งหนาความยาวปานกลาง สีของขนจะขาว น้ำตาล ดำ ผสมกัน และมีสีแซมได้ทุกสี


การแปรงขนและการออกกำลัง : ควรแปรงขนให้สัปดาห์ละครั้ง ควรพาเดินออกกำลังทุกวันหรือปล่อยให้วิ่งเล่นในพื้นที่ปลอดภัยบ้าง


กำเนิด : เป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ แต่บีเกิลยุคปัจจุบันเป็นการผสมกับสุนัขพันธุ์เซ้นท์ฮาวน์ของฝรั่งเศส

คำศัพท์(7)

Annulation (n.f.) ยกเลิก (กม.ทั่วไป กม.แพ่ง)
Annulation หรือ การยกเลิก มักใช้เพื่อกล่าวถึงการที่ศาลตัดสินยกเลิกนิติกรรมต่างๆ เนื่องจากนิติกรรมนั้นๆ มีเหตุอันทำให้เป็นโมฆะ คำว่า โมฆะ หรือ nullité ในกฎหมายฝรั่งเศสจะต่างจากกฎหมายไทยโดย nullité มี 2 ประเภท คือ 1. nullité absolue โดยผู้มีส่วนได้เสียทุกคน รวมถึงผู้พิพากษาสามารถยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุในการให้ยกเลิกนิติกรรมได้ เช่น เมื่อผู้เยาว์ (mineur) หรือ ผู้ไร้ความสามารถ (incapable majeur) ทำนิติกรรมสัญญา 2. nullité relative ซึ่งเฉพาะผู้เสียหายจากเหตุนั้นๆเท่านั้น จะสามารถอ้างเหตุนั้นได้ หากไม่ได้อ้าง ศาลก็ไม่สามารถยกขึ้นมาเป็นเหตุยกเลิกนิติกรรมได้ เช่น การสำคัญผิดในสาระสำคัญ (erreur sur la qualité essentielle) เป็นต้นสามารถมีเหตุมาจากการที่ผู้ทำสัญญาเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ ก็ได้
การเป็นโมฆะ หรือ nullité ก่อให้เกิดผลย้อนหลัง หรือ effet rétroactif โดยจะกลับไปสู่สถานการณ์ ก่อนเกิด นิติกรรมนั้นๆ เช่น หากสัญญาซื้อขายถูกยกเลิก ผู้ซื้อจะต้องคืนของที่ซื้อแก่ผู้ขาย และผู้ขายจะต้องคืนเงินแก่ผู้ซื้อ เป็นต้น

คำศัพท์(7)

Annulation (n.f.) ยกเลิก (กม.ทั่วไป กม.แพ่ง)
Annulation หรือ การยกเลิก มักใช้เพื่อกล่าวถึงการที่ศาลตัดสินยกเลิกนิติกรรมต่างๆ เนื่องจากนิติกรรมนั้นๆ มีเหตุอันทำให้เป็นโมฆะ คำว่า โมฆะ หรือ nullité ในกฎหมายฝรั่งเศสจะต่างจากกฎหมายไทยโดย nullité มี 2 ประเภท คือ 1. nullité absolue โดยผู้มีส่วนได้เสียทุกคน รวมถึงผู้พิพากษาสามารถยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุในการให้ยกเลิกนิติกรรมได้ เช่น เมื่อผู้เยาว์ (mineur) หรือ ผู้ไร้ความสามารถ (incapable majeur) ทำนิติกรรมสัญญา 2. nullité relative ซึ่งเฉพาะผู้เสียหายจากเหตุนั้นๆเท่านั้น จะสามารถอ้างเหตุนั้นได้ หากไม่ได้อ้าง ศาลก็ไม่สามารถยกขึ้นมาเป็นเหตุยกเลิกนิติกรรมได้ เช่น การสำคัญผิดในสาระสำคัญ (erreur sur la qualité essentielle) เป็นต้นสามารถมีเหตุมาจากการที่ผู้ทำสัญญาเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ ก็ได้
การเป็นโมฆะ หรือ nullité ก่อให้เกิดผลย้อนหลัง หรือ effet rétroactif โดยจะกลับไปสู่สถานการณ์ ก่อนเกิด นิติกรรมนั้นๆ เช่น หากสัญญาซื้อขายถูกยกเลิก ผู้ซื้อจะต้องคืนของที่ซื้อแก่ผู้ขาย และผู้ขายจะต้องคืนเงินแก่ผู้ซื้อ เป็นต้น

(เบียดดิดคอลลี)Bearded Collie


ความสูงเฉลี่ย : 20-22 นิ้ว


น้ำหนักเฉลี่ย : 40-60 ปอนด์


อายุขัยเฉลี่ย : 12-15 ปี


กลุ่มสายพันธุ์ : เฮิร์ดิ้งด็อก


อุปนิสัย : น่ารัก ขี้ประจบ ฝึกให้ฟังคำได้ง่าย ชอบอยู่กับคน รวมทั้งอยู่กับเด็กและสัตว์อื่น อาจเห่าเมื่อเห็นคนแปลกหน้า จะเลี้ยงอยู่ในชนบท ในเมืองหรือชานเมืองได้ทั้งนั้น เพียงแต่ต้องให้ออกกำลังอย่างเพียงพอและได้วิ่งเล่นบ้าง


ลักษณะเฉพาะ : ขนชั้นนอกยาวปานกลางเป็นเส้นตรงและหยาบ ขนชั้นในอ่อนนุ่มสีดำ สีน้ำเงิน หรือสีเทาแกมเหลืองแต้มขาว


การแปรงขนและการออกกำลัง : ต้องแปรงขนให้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อไม่ให้ขนติดกัน และต้องพาเดินออกกำลังกายและปล่อยให้วิ่งเล่นทุกวัน


กำเนิด : อาจมีถิ่นกำเนิดที่สก็อตแลนด์และที่เกาะอังกฤษตอนเหนือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เดิมถูกใช้ให้ต้องฝูงแกะ แต่ต่อมานิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นในครอบครัว ทั้งพันธุ์โอลด์อิงลิชชีพด็อกและพันธุ์บอร์ดเดอร์คอลลีเป็นบรรพบุรุษของสุนัขพันธุ์นี้

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บาสเส็ทฮาวนด์(Basset Hound)


ความสูงเฉลี่ย : 14 นิ้ว




น้ำหนักเฉลี่ย : 40-60 ปอนด์




อายุขัยเฉลี่ย : 10-12 ปี




กลุ่มสายพันธุ์ : เซ้นท์เฮาวนด์




อุปนิสัย : สุภาพ รักทุกคนในครอบครัวรวมทั้งสมาชิกที่เป็นเด็ก กับสุภาพกับสัตว์อื่น ๆ ด้วย ปกติจะดื้อรั้นและฝึกยาก ควรแก้ไขด้วยการฝึกตั้งแต่เล็ก ๆ




ลักษณะเฉพาะ : ขาสั้น ลำตัวยาว ขนแข็งและหน้าทึบ สีขนขาว น้ำตาล และดำผสมกัน


การแปรงขนและการออกกำลัง : ขนร่วงปานกลาง ควรแปรงขนให้และทำความสะอาดหูสัปดาห์ละครั้งที่หู หน้าอกจะสกปรกง่าย จึงควรอาบน้ำให้บ่อย ๆ ควรพาออกกำลังด้วยการพาเดินและปล่อยให้วิ่งเล่นตามลำพังในที่ปลอดภัยทุกวัน ควรใช้สายจูงขณะพาออกเดินออกมานอกบ้าน มิฉะนั้นจะเที่ยวเดินดมกลิ่นแทนที่จะเดินตามเจ้าของ


กำเนิด : สืบสายพันธุ์มาจากสุนัขเซ้นท์ฮาวน์ของฝรั่งเศส ได้รับการพัฒนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อให้ล่ากระต่ายป่า




คำศัพท์(6)

Retrait (n.m) ถอน (กม.ปกครอง)
คำว่า Retrait หมายถึง การถอนออก หรือการยกเลิก โดยมักใช้ในกรณีที่ฝ่ายบริหาร ยกเลิกคำสั่งทางปกครองของตนเอง เช่น เมื่อเราต้องการพูดว่า นายกเทศบาลได้ถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง เราจะพูดได้ว่า Le maire a retiré le permis de construire.
นับตั้งแต่คำพิพากษาของ Conseil d'Etat, 26 octobre 2001, "Ternon" ฝ่ายบริหารสามารถถอนคำสั่งทางปกครองได้ภายใน 4 เดือนจากวันที่พิมพ์ประกาศคำสั่งนั้นๆ (เพิ่มระยะเวลาจากเดิม 2 เดือน) หลังจาก 4 เดือนแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถจะร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ยกเลิกคำสั่งนั้นๆโดยตรงได้ เนื่องจากจะถือว่าคำสั่งนั้นกลายเป็นคำสั่งถาวร หรือ L'acte est devenu définitif. อย่างไรก็ตาม หากในอนาคต ฝ่ายบริหารออกคำสั่งอื่นๆ ต่อเนื่องมาจากคำสั่งถาวร อันผิดกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียสามารถร้องต่อศาลเพื่อให้ยกเลิกคำสั่งหลัง โดยอ้างว่าคำสั่งแรกไม่ชอบด้วยกฎหมายได้นอกจากนั้น คำสั่งเฉพาะตัวอันไม่สร้างสิทธิ์กับตัวผู้รับคำสั่งนั้น ผู้รับคำสั่งสามารถร้องต่อศาลเพื่อขอให้ยกเลิกคำสั่งนั้นได้ โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา

บาเซ็นจิ(Basenji)


ความสูงเฉลี่ย : 16-17 นิ้ว


น้ำหนักเฉลี่ย : 21-24 ปอนด์


อายุขัยเฉลี่ย : 10-13 ปี


กลุ่มสายพันธุ์ : ไซ้ท์ฮาวนด์


อุปนิสัย : ดื้อรั้น แต่เป็นมิตรกับสมาชิกในครอบครัว เข้ากับเด็กและสัตว์อื่น ๆ ได้ แต่อาจไม่อยากสุงสิงกับผู้ใหญ่แปลกหน้า ชอบวิ่งตามรถยนต์ตามสัญชาติญาณ ฉะนั้นเวลาพาออกนอกบ้านจะต้องใช้สายจูง


ลักษณะเฉพาะ : หน้าผากย่นเป็นริ้ว หางโค้งเป็นวงขึ้นข้างหลัง วิ่งเร็ว สีขนอาจแดง ดำ สามสี


การแปรงขนและการออกกำลัง : ไม่จำเป็นต้องแปรงขนให้มาก แต่ต้องพาเดินและปล่อยให้วิ่งเล่นกับสุนัขตัวอื่นทุกวันจะทำให้ร่าเริงอยู่เสมอ


กำเนิด : สุนัขตัวนี้มีถิ่นกำเนิดที่แถบแอฟริกากลางเมื่อหลายพันปีมาแล้ว มีภาพศิลปะรูปสุนัขคล้ายกับบาเซ็นจินี้อยู่ที่หลุมฝังศพที่อียิปต์สมัยโบราณ


วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Television

History
Main article:
History of television
The origins of what would become today's television system can be traced back to the discovery of the photoconductivity of the element selenium by Willoughby Smith in 1873, the invention of a scanning disk by Paul Gottlieb Nipkow in 1884, and Philo Farnsworth's Image dissector in 1927.
On
March 25, 1925, Scottish inventor John Logie Baird gave a demonstration of televised silhouette images in motion at Selfridge's Department Store in London. In 1927, Baird transmitted a signal over 438 miles (705 km) of telephone line between London and Glasgow. In 1928, Baird's company (Baird Television Development Company / Cinema Television) broadcast the first transatlantic television signal, between London and New York, and the first shore-to-ship transmission. He also demonstrated an electromechanical color, infrared (dubbed "Noctovision"), and stereoscopic television, using additional lenses, disks and filters. In parallel, Baird developed a video disk recording system dubbed "Phonovision"; a number of the Phonovision recordings, dating back to 1927, still exist.[1] In 1929, he became involved in the first experimental electromechanical television service in Germany. In November 1929, Baird and Bernard Natan of Pathe established France's first television company, Télévision-Baird-Natan. In 1931, he made the first live transmission, of the Epsom Derby. In 1932, he demonstrated ultra-short wave television. Baird's electromechanical system reached a peak of 240 lines of resolution on BBC television broadcasts in 1936, before being discontinued in favor of a 405-line all-electronic system developed by Marconi-EMI.
However,
Herbert E. Ives of Bell Labs gave the most dramatic demonstration of television yet on April 7, 1927, when he field tested reflected-light television systems using small-scale (2 by 2.5 inches) and large-scale (24 by 30 inches) viewing screens over a wire link from Washington to New York City, and over-the-air broadcast from Whippany, New Jersey. The subjects, who included Secretary of Commerce Herbert Hoover, were illuminated by a flying-spot scanner beam that was scanned by a 50-aperture disk at 16 pictures per minute

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551

คำศัพท์(5)

Pourvoi (n.m.)

คำว่า Pourvoi หรือ Pourvoi en cassation หมายถึง คำฎีกา โดยจะใช้ต่อเมื่อเรากล่าวถึงการฎีกาต่อศาลสูงสุด ทั้งที่เป็นศาลปกครอง (Conseil d'Etat) และศาลยุติธรรมสูงสุด (Cour de cassation) ข้อควรระวัง เราจะสังเกตได้ว่า คำนี้เขียนต่างจากคำว่า pouvoir ที่หมายถึง อำนาจ

คำว่า pourvoi เป็นคำนาม หากเราต้องการพูดว่า "ยื่นฎีกา" จะต้องใช้กับคำกริยา former ดังนั้น เราสามารถพูดว่า Il va former un pourvoi en cassation contre la décision du juge d'appel. เพื่อบอกว่า เขาจะฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

ศาลฎีกาของฝรั่งเศส มีอำนาจต่างจากศาลฎีกาของไทย โดย ศาลฎีกาฝรั่งเศส หรือ Cour de cassation มีอำนาจในการตัดสินเฉพาะข้อกฎหมาย (en droit) เพื่อตรวจสอบว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ใช้กฎหมายถูกต้องหรือไม่ แต่จะไม่มีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินข้อเท็จจริง (en fait) อันถือว่าอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ (appréciation souveraine des juges du fond)

Pourvoi หรือ คำฎีกา สามารถแบ่งได้เป็นส่วนๆ แล้วแต่กรณีตามที่ผู้ฎีกาเห็นสมควร โดย แต่ละส่วนเรียกว่า Moyen ซึ่ง แต่ละ Moyen จะพยายามชี้ให้เป็นว่ามีการใช้กฎหมายไม่ถูกต้องตามมาตราใด หรือหลักใด ดังนั้น หากผู้ฎีกาเห็นว่ามีการใช้กฎหมายผิดต่อ 2 หลักสำคัญ คำฎีกาของเขาก็จะมี 2 Moyens เป็นต้นในแต่ละ Moyen อาจแบ่งได้เป็นหลายประเด็นย่อย เรียกว่า Branche โดยแต่ละ Branche จะแสดงเหตุผลสนับสนุนเป็นข้อๆไป

คำพิพากษาของศาลฎีกามีได้ 2 แบบคือ1. Arrêt de rejet คือกรณีที่ศาลฎีกาพิจารณาว่า ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ใช้กฎหมายถูกต้องแล้ว ศาลจะพิพากษายืน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้คำฎีกาตกไป2. Arrêt de cassation คือกรณีที่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ใช้ข้อกฎหมายไม่ถูกต้อง ศาลจะให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์นั้นๆตกไป และเนื่องจากศาลฎีกาไม่มีอำนาจในการพิจารณาข้อเท็จจริง ศาลจึงต้องส่งคดีกลับไปยังศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ เมืองอื่น หรือ เมืองเดิมแต่ต่างชุดผู้พิพากษา โดยการส่งกลับนี้เรียกว่า renvoi

ในบางกรณี หากศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะส่งกลับ ศาลก็สามารถไม่ส่งกลับ (Cassation sans renvoi) เช่น ตามปกติ หลังจากที่ศาลชั้นต้นตัดสินคดี คู่กรณีสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในเวลาที่กำหนด หากผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ล่าช้า แต่ศาลอุทธรณ์กลับยอมรับคำอุทธรณ์ และตัดสินคดี คู่กรณีสามารถยื่นฎีกาได้ว่า ศาลอุทธรณ์กระทำผิดโดยการยอมรับคำอุทธรณ์หลังจากกำหนด หากศาลฎีกาตัดสินให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์นั้นตกไป ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคดีกลับไปยังศาลอุทธรณ์อื่นๆอีกเนื่องจากคดีนั้นสิ้นสุดแล้วด้วยคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจอีกคดีหนึ่ง โดย ศาลฎีกาฝรั่งเศส ตัดสินเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ในกรณีนี้ศาลอุทธรณ์ เมือง เอ๊กซ์-ออง-โพรว้องซ์ ปฏิเสธคำขอของชายที่แปลงเพศแล้ว เพื่อเปลี่ยนคำระบุเพศในทะเบียนประวัติ (acte d'état civil) จากชายเป็นหญิง ศาลฎีกาตัดสินยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยไม่ได้ส่งคดีกลับไปยังศาลอุทธรณ์อื่น

Australian Terrier(ออสเตรเลียนเทอร์เรียร์)




ความสูงเฉลี่ย : 10-11 นิ้ว
น้ำหนักเฉลี่ย : 12-14 ปอนด์

อายุขัยเฉลี่ย : 12-15 ปี

กลุ่มสายพันธุ์ : เทอร์เรียร์

อุปนิสัย : ตัวเล็ก เอาใจเก่ง เข้ากับเด็กได้หากถูกเลี้ยงมาด้วยกันและไม่เล่นแรงๆไม่ไล่แมวหากถูกเลี้ยงมาด้วยกันตั้งแต่เล็ก

ลักษณะเฉพาะ : ขนชั้นนอกแข็งและตรง ยาว 2-3 นิ้ว ขนชั้นในสั้นและอ่อนนุ่ม สีขนเป็นน้ำเงินและน้ำตาล สีแดงหรือสีทราย

การแปรงขนและการออกกำลังกาย : ต้องแปรงขนให้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และต้องพาออกกำลังทุกวันโดยพาเดินเล่นและให้วิ่งเล่นในที่ปลอดภัยมีรั้วรอบขอบชิด

กำเนิด : มีบรรพบุรุษ พันธุ์แคนเทอร์เรียร์ พันธุ์สกายเทอร์เรียร์ และพันธุ์ยอร์กเชียร์เทอร์เรียร์ เป็นต้น ถูกใช้ให้ล่าหนูในออสเตรเลีย ใช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19