Acte de gouvernement (n.m.)
คำว่า "การกระทำของรัฐบาล" หรือ "Act de gouvernement" นี้ ใช้เพื่อเรียก การกระทำที่รัฐบาลทำแล้วศาลปกครองจะไม่สามารถเข้ามาควบคุมหรือตัดสินให้เป็นโมฆะได้
เพื่อพิจารณาว่าการกระทำใดบ้างเป็นการกระทำของรัฐบาล ในสมัยก่อนศาลปกครองของฝรั่งเศสใช้ ทฤษฎี "มูลเหตุจูงใจทางการเมือง" (Mobile politique) ในการพิจารณา โดยการกระทำที่มาจากเหตุจูงใจทางการเมืองจัดว่าเป็นการกระทำของรัฐบาล และศาลปกครองจะไม่เข้ามาควบคุม
อย่างไรก็ดี ต่อมาในปี ค.ศ. 1875 ศาลปกครองสูงสุดของฝรั่งเศสได้นำทฤษฎี "มูลเหตุจูงใจทางการเมือง" (Mobile politique) มาใช้เป็นเหตุยกเลิกการกระทำทางปกครอง (CE 19 février 1875 Prince Napoléon) โดยพิจารณาว่า การกระทำที่มีเหตุจูงใจทางการเมือง ไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล แต่เป็นการกระทำทางปกครองที่ไม่ถูกต้อง และต้องเป็นโมฆะ โดยอาจเป็นโมฆะด้วยเหตุใช้อำนาจในทางที่ผิด (détournement du pouvoir) หรือ ใช้กฎหมายผิด (erreur de droit) ทั้งนี้เนื่องจากการกระทำทางปกครองจะต้องมีเหตุจูงใจคือผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เหตุจูงใจทางการเมือง
ปัจจุบัน เราสามารถแบ่ง "การกระทำของรัฐบาล (Act de gouvernement)" ออกได้เป็น 2 ประเภท (G. CORNU, Vocabulaire juridique, PUF 1987 และ M. LONG, P. WEIL, G. BRAIBANT, P. DELVOLVE และ B. GENEVOIS, Les grands arrêts de la jurisprudence administrative, Dalloz, 2001) ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การตัดสินใจให้ทำประชามติ การประกาศใช้มาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสในกรณีวิกฤตโดยประธานาธิบดีจะมีอำนาจในการออกกฎต่างๆ การตัดสินใจยุบสภา การแต่งตั้งหรือถอดถอนรัฐมนตรี การประกาศใช้กฎหมาย เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การเจรจาสนธิสัญญาระหว่างประเทศ การอนุวัติการ การปฏิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทหารระหว่างประเทศ
การกระทำของรัฐบาลไม่สามารถถูกควบคุมโดยศาลปกครอง และรัฐ (ประเทศ) ไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของรัฐบาล (สนธิสัญญาระหว่างประเทศไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล เนื่องจากสนธิสัญญาไม่ใช่การกระทำของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง ฝรั่งเศสยอมรับว่ารัฐอาจต้องรับผิดจากผลของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และเป็นการรับผิดชอบโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด (Résponsabilité sans faute))
วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
คำศัพท์(3)
Pourvoi (n.m.)
คำว่า Pourvoi หรือ Pourvoi en cassation หมายถึง คำฎีกา โดยจะใช้ต่อเมื่อเรากล่าวถึงการฎีกาต่อศาลสูงสุด ทั้งที่เป็นศาลปกครอง (Conseil d'Etat) และศาลยุติธรรมสูงสุด (Cour de cassation)
คำว่า pourvoi เป็นคำนาม หากเราต้องการพูดว่า "ยื่นฎีกา" จะต้องใช้กับคำกริยา former ดังนั้น เราสามารถพูดว่า Il va former un pourvoi en cassation contre la décision du juge d'appel. เพื่อบอกว่า เขาจะฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกาของฝรั่งเศส มีอำนาจต่างจากศาลฎีกาของไทย โดย ศาลฎีกาฝรั่งเศส หรือ Cour de cassation มีอำนาจในการตัดสินเฉพาะข้อกฎหมาย (en droit) เพื่อตรวจสอบว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ใช้กฎหมายถูกต้องหรือไม่ แต่จะไม่มีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินข้อเท็จจริง (en fait) อันถือว่าอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ (appréciation souveraine des juges du fond)
Pourvoi หรือ คำฎีกา สามารถแบ่งได้เป็นส่วนๆ แล้วแต่กรณีตามที่ผู้ฎีกาเห็นสมควร โดย แต่ละส่วนเรียกว่า Moyen ซึ่ง แต่ละ Moyen จะพยายามชี้ให้เป็นว่ามีการใช้กฎหมายไม่ถูกต้องตามมาตราใด หรือหลักใด ดังนั้น หากผู้ฎีกาเห็นว่ามีการใช้กฎหมายผิดต่อ 2 หลักสำคัญ คำฎีกาของเขาก็จะมี 2 Moyens เป็นต้นในแต่ละ Moyen อาจแบ่งได้เป็นหลายประเด็นย่อย เรียกว่า Branche โดยแต่ละ Branche จะแสดงเหตุผลสนับสนุนเป็นข้อๆไป
คำพิพากษาของศาลฎีกามีได้ 2 แบบคือ
1. Arrêt de rejet คือกรณีที่ศาลฎีกาพิจารณาว่า ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ใช้กฎหมายถูกต้องแล้ว ศาลจะพิพากษายืน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้คำฎีกาตกไป
2. Arrêt de cassation คือกรณีที่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ใช้ข้อกฎหมายไม่ถูกต้อง ศาลจะให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์นั้นๆตกไป และเนื่องจากศาลฎีกาไม่มีอำนาจในการพิจารณาข้อเท็จจริง ศาลจึงต้องส่งคดีกลับไปยังศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ เมืองอื่น หรือ เมืองเดิมแต่ต่างชุดผู้พิพากษา โดยการส่งกลับนี้เรียกว่า renvoi
ในบางกรณี หากศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะส่งกลับ ศาลก็สามารถไม่ส่งกลับ (Cassation sans renvoi) เช่น ตามปกติ หลังจากที่ศาลชั้นต้นตัดสินคดี คู่กรณีสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในเวลาที่กำหนด หากผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ล่าช้า แต่ศาลอุทธรณ์กลับยอมรับคำอุทธรณ์ และตัดสินคดี คู่กรณีสามารถยื่นฎีกาได้ว่า ศาลอุทธรณ์กระทำผิดโดยการยอมรับคำอุทธรณ์หลังจากกำหนด หากศาลฎีกาตัดสินให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์นั้นตกไป ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคดีกลับไปยังศาลอุทธรณ์อื่นๆอีกเนื่องจากคดีนั้นสิ้นสุดแล้วด้วยคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
คำว่า Pourvoi หรือ Pourvoi en cassation หมายถึง คำฎีกา โดยจะใช้ต่อเมื่อเรากล่าวถึงการฎีกาต่อศาลสูงสุด ทั้งที่เป็นศาลปกครอง (Conseil d'Etat) และศาลยุติธรรมสูงสุด (Cour de cassation)
คำว่า pourvoi เป็นคำนาม หากเราต้องการพูดว่า "ยื่นฎีกา" จะต้องใช้กับคำกริยา former ดังนั้น เราสามารถพูดว่า Il va former un pourvoi en cassation contre la décision du juge d'appel. เพื่อบอกว่า เขาจะฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกาของฝรั่งเศส มีอำนาจต่างจากศาลฎีกาของไทย โดย ศาลฎีกาฝรั่งเศส หรือ Cour de cassation มีอำนาจในการตัดสินเฉพาะข้อกฎหมาย (en droit) เพื่อตรวจสอบว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ใช้กฎหมายถูกต้องหรือไม่ แต่จะไม่มีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินข้อเท็จจริง (en fait) อันถือว่าอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ (appréciation souveraine des juges du fond)
Pourvoi หรือ คำฎีกา สามารถแบ่งได้เป็นส่วนๆ แล้วแต่กรณีตามที่ผู้ฎีกาเห็นสมควร โดย แต่ละส่วนเรียกว่า Moyen ซึ่ง แต่ละ Moyen จะพยายามชี้ให้เป็นว่ามีการใช้กฎหมายไม่ถูกต้องตามมาตราใด หรือหลักใด ดังนั้น หากผู้ฎีกาเห็นว่ามีการใช้กฎหมายผิดต่อ 2 หลักสำคัญ คำฎีกาของเขาก็จะมี 2 Moyens เป็นต้นในแต่ละ Moyen อาจแบ่งได้เป็นหลายประเด็นย่อย เรียกว่า Branche โดยแต่ละ Branche จะแสดงเหตุผลสนับสนุนเป็นข้อๆไป
คำพิพากษาของศาลฎีกามีได้ 2 แบบคือ
1. Arrêt de rejet คือกรณีที่ศาลฎีกาพิจารณาว่า ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ใช้กฎหมายถูกต้องแล้ว ศาลจะพิพากษายืน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้คำฎีกาตกไป
2. Arrêt de cassation คือกรณีที่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ใช้ข้อกฎหมายไม่ถูกต้อง ศาลจะให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์นั้นๆตกไป และเนื่องจากศาลฎีกาไม่มีอำนาจในการพิจารณาข้อเท็จจริง ศาลจึงต้องส่งคดีกลับไปยังศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ เมืองอื่น หรือ เมืองเดิมแต่ต่างชุดผู้พิพากษา โดยการส่งกลับนี้เรียกว่า renvoi
ในบางกรณี หากศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะส่งกลับ ศาลก็สามารถไม่ส่งกลับ (Cassation sans renvoi) เช่น ตามปกติ หลังจากที่ศาลชั้นต้นตัดสินคดี คู่กรณีสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในเวลาที่กำหนด หากผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ล่าช้า แต่ศาลอุทธรณ์กลับยอมรับคำอุทธรณ์ และตัดสินคดี คู่กรณีสามารถยื่นฎีกาได้ว่า ศาลอุทธรณ์กระทำผิดโดยการยอมรับคำอุทธรณ์หลังจากกำหนด หากศาลฎีกาตัดสินให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์นั้นตกไป ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคดีกลับไปยังศาลอุทธรณ์อื่นๆอีกเนื่องจากคดีนั้นสิ้นสุดแล้วด้วยคำพิพากษาของศาลชั้นต้น
Australian Shepherd(ออสเตรเลียนเช็พเพิร์ด)
ความสูงเฉลี่ย : 18-23 นิ้ว
น้ำหนักเฉลี่ย : 35-15 ปอนด์
อายุขัยเฉลี่ย : 12-14 ปี
กลุ่มสายพันธุ์ : เฮิร์ดดิ้งด็อก
อุปนิสัย : ไม่ชอบคนแปลกหน้า มีความจงรักภักดีเจ้าของ น่ารัก ขี้เล่น ชอบเด็กแต่ต้องคุ้นกันมาตั้งแต่เล็กๆ ชำนาญในการนำฝูงสัตว์ ฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งและฝึกความว่องไวต่าง ๆ ได้ง่าย
ลักษณะเฉพาะ : ขชั้นนอกหยาบปานกลาง ส่วนขนชั้นในอ่อนนุ่มและหนาทึบ สีขนอาจเป็นน้ำเงิน แดง ดำ หรือแดงผสมขาวหรือมีจุดน้ำตาล
การแปรงขนและการออกกำลัง : ต้องแปรงขนให้ทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขนร่วงในฤดูใบไม้ผลิ และต้องพาออกกำลับกายให้มากด้วย
กำเนิด : ถูกเพาะพันธุ์ไว้ต้อนและเฝ้าฝูงปศุสัตว์ ถูกนำเข้าสหัรัฐอเมริกาผ่านทางออสเตรเลีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่มีถิ่นกำเนิดที่สเปน
Australian Kelpie(ออสเตรเลียนเคลปี)
ความสูงเฉลี่ย : 17-23 นิ้ว
น้ำหนักเฉลี่ย : 25-45 ปอนด์
อายุขัยเฉลี่ย : 12-14 ปี
กลุ่มสายพันธุ์ : เฮิร์ดดิ้งด็อก
อุปนิสัย : รักความมีอิสระ ต้องการผู้ฝึกที่มีประสบการณ์ ต้องการอยู่ใกล้ชิดกับผู้คนและสัตว์อื่น ๆ และควรรับการฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งตั้งแต่อายุยังน้อย ต้องพาออกกำลังมาก ๆ ไม่ชอบอยู่ในเมืองหรืออยู่กับเจ้าของที่จับเจ่าอยู่แต่ในบ้านแต่ชอบออกนอกบ้านมาก
ลักษณะเฉพาะ : เป็นสุนัขขนาดปานกลาง ศีรษะคล้ายสุนัขจิ้งจอก ขนชั้นนอกแข็งหนาไม่ซับน้ำ ส่วนขนชั้นในหนาและอ่อนนุ่ม สีขนปกติจะดำ แต่ก็อาจเป็นดำและน้ำตาล แดงล้วน สีเทาแกมเหลืองช็อกโกแลตน้ำเงินอ่อน
การแปรงขนและการออกกำลัง : ควรแปรงและหวีขนให้ทุกสัปดาห์ ต้องจัดตารางฝึกออกกำลังกายให้เสมอมิฉะนั้นจะเพาะนิสัยไม่ดีเกิดขึ้นมาได้
กำเนิด : กำเนิดในทศวรรษปี ค.ศ 1870 จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์บอร์ดเคอร์คอลลีเพศผู้กับสุนัขเพศเมียสีดำผสมน้ำตาลชื่อเคลปี
คำแนะนำพิเศษ : ไม่เหมาะสำหรับผู้เลี้ยงที่ไม่มีประสบการณื และมันจะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตในเมืองและชีวิตในห้องชุดที่คับแคบได้
วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
คำศัพท์(2)
Délégation (n.f.) การมอบอำนาจ
Délégation หมายถึง การมอบอำนาจเพื่อกระทำการตามหน้าที่ ใช้ในกรณีที่กฎหมายยอมให้ผู้มีอำนาจหน้าที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนตนได้ ซึ่งใช้ได้ทั้งกรณีการมอบอำนาจทางกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน เข่น กรณีที่ผู้จัดการบริษัทมอบอำนาจให้รองผู้จัดการเป็นผู้อนุมัติการลาของลูกจ้าง หรือ กรณีที่ผู้ว่าการฯ (Préfet) มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี คำนี้จะไม่ใช้กับกรณีการมอบอำนาจให้ไปทำนิติกรรม (acte juridique) ซึ่งจะใช้คำว่า "Mandat"
การมอบอำนาจประเภทนี้ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1. Délégation de compétence หรือ Délégation de pouvoir ได้แก่ กรณีที่เมื่อผู้มอบอำนาจ (délégant) มอบอำนาจใดๆให้ผู้รับมอบอำนาจ (délégataire) แล้ว ผู้มอบอำนาจจะไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวอีก จนกว่าผู้มอบอำนาจจะถอนการมอบอำนาจนั้น ทั้งนี้จะไปกระทบการใดๆที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแล้ว
ตามกฎหมายอาญาในกรณีความผิดของนิติบุคคล ผู้บริหารของบริษัทจะพ้นความรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าได้มีการ "Délégation de pouvoir" ให้กับผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในกรณีนี้แล้ว
2. Délégation de signature การมอบอำนาจประเภทนี้เป็นกรณีที่เมื่อผู้มอบอำนาจ (délégant) มอบอำนาจใดๆให้ผู้รับมอบอำนาจ (délégataire) แล้ว ตัวผู้มอบอำนาจยังคงมีอำนาจกระทำการดังกล่าวอยู่
Délégation de service public ใช้กับการดำเนินการจัดการบริการสาธารณะ (services publics) ในกรณีที่นิติบุคคลมหาชน(ปกติได้แก่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น)ซึ่งมีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายกำหนดได้มอบอำนาจบางอย่างให้กับนิติบุคคลอื่น(ส่วนมากเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน)ภายใต้สัญญาในการดำเนินการจัดการให้บริการสาธารณะนั้น ๆ (เช่น สัญญาสัมปทาน)
การดำเนินการประเภทนี้โดยมากเป็นการให้บริการสาธารณะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (Service public industriel et commercial) อย่างกรณีการให้บริการน้ำประปา อย่างไรตามฝ่ายปกครองไม่สามารถมอบอำนาจให้เอกชนกระทำการใด ๆ ที่โดยเหตุผลหรือตัวกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองเท่านั้น (Service public administratif) เช่น การรักษาความปลอดภัยของตำรวจ และการดูแลเกี่ยวกับสภาพบุคคลหรือทะเบียนราษฎร์
Délégation de vote ใช้ในกรณีที่สมาชิกรัฐสภามอบอำนาจให้สมาชิกด้วยกันเป็นผู้ออกเสียงแทน
โดยปกติการมอบอำนาจให้ออกเสียงแทนเป็นเรื่องต้องห้ามของรัฐสภา และจะตกเป็นโมฆะ (nul) ตามมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ยกเว้นจะเป็นกรณีที่กำหนดไว้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (loi organique) และผู้รับมอบอำนาจจะออกเสียงแทนผู้มอบอำนาจได้ไม่เกิน 1 คน
ข้อยกเว้นที่ให้มอบอำนาจออกเสียงแทนได้กำหนดไว้ในมาตรา 1 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ Ordonnance n° 58-1066 du 7 novembre 1958 แก้ไขโดย Loi organique 62-1 du 3 janvier 1962 (ประกาศ JORF เมื่อ 4 janvier 1962) มี 6 กรณีดังนี้
1.ป่วย, ประสบอุบัติเหตุ หรือมีเหตุการร้ายแรงกับบุคคลในครอบครัว ที่ทำให้สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถเดินทางไปออกเสียงเองได้
2.ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล
3.ถูกเรียกไปรับราชการทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม
4.ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือวุฒิสภาให้ไปปฏิบัติหน้าที่ร่วมประชุมในระดับระหว่างประเทศ
5.ไม่อยู่ในประเทศในขณะเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ
6.กรณีเหตุสุดวิสัย ที่รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีๆไป
ในการมอบอำนาจของสมาชิกรัฐสภาให้ออกเสียงแทนนี้ มาตรา 2 ของ Ordonnance n° 58-1066 du 7 novembre 1958 ได้กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือกำหนดชื่อผู้รับมอบอำนาจ (délégué) ระยะเวลาที่มอบอำนาจ(หากไม่กำหนดจะใช้ได้ไม่เกิน 8 วัน นับแต่วันที่แจ้งแก่ประธานฯ แต่สามารถขอขยายระยะเวลาได้)พร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถมาออกเสียงเอง และลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ เสนอต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิก ก่อนที่จะมีการเปิดให้ออกเสียงหรือก่อนการออกเสียงครั้งแรกแล้วแต่กรณี
Délégant หมายถึงผู้มอบอำนาจ ส่วนผู้รับมอบอำนาจมักใช้คำว่า délégataire อย่างไรก็ดี ในบางกรณีมักใช้คำว่า délégué เช่นในกฎหมายแรงงาน เราเรียกผู้แทนลูกจ้างว่า délégué du personnel เป็นต้น
นอกจากนี้คำว่า délégation ยังสามารถหมายถึงคณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายร่วมกันให้เป็นตัวแทนหรือให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดจากหน่วยงานหนึ่งๆก็ได้
Délégation หมายถึง การมอบอำนาจเพื่อกระทำการตามหน้าที่ ใช้ในกรณีที่กฎหมายยอมให้ผู้มีอำนาจหน้าที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนตนได้ ซึ่งใช้ได้ทั้งกรณีการมอบอำนาจทางกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน เข่น กรณีที่ผู้จัดการบริษัทมอบอำนาจให้รองผู้จัดการเป็นผู้อนุมัติการลาของลูกจ้าง หรือ กรณีที่ผู้ว่าการฯ (Préfet) มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี คำนี้จะไม่ใช้กับกรณีการมอบอำนาจให้ไปทำนิติกรรม (acte juridique) ซึ่งจะใช้คำว่า "Mandat"
การมอบอำนาจประเภทนี้ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1. Délégation de compétence หรือ Délégation de pouvoir ได้แก่ กรณีที่เมื่อผู้มอบอำนาจ (délégant) มอบอำนาจใดๆให้ผู้รับมอบอำนาจ (délégataire) แล้ว ผู้มอบอำนาจจะไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวอีก จนกว่าผู้มอบอำนาจจะถอนการมอบอำนาจนั้น ทั้งนี้จะไปกระทบการใดๆที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแล้ว
ตามกฎหมายอาญาในกรณีความผิดของนิติบุคคล ผู้บริหารของบริษัทจะพ้นความรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าได้มีการ "Délégation de pouvoir" ให้กับผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในกรณีนี้แล้ว
2. Délégation de signature การมอบอำนาจประเภทนี้เป็นกรณีที่เมื่อผู้มอบอำนาจ (délégant) มอบอำนาจใดๆให้ผู้รับมอบอำนาจ (délégataire) แล้ว ตัวผู้มอบอำนาจยังคงมีอำนาจกระทำการดังกล่าวอยู่
Délégation de service public ใช้กับการดำเนินการจัดการบริการสาธารณะ (services publics) ในกรณีที่นิติบุคคลมหาชน(ปกติได้แก่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น)ซึ่งมีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายกำหนดได้มอบอำนาจบางอย่างให้กับนิติบุคคลอื่น(ส่วนมากเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน)ภายใต้สัญญาในการดำเนินการจัดการให้บริการสาธารณะนั้น ๆ (เช่น สัญญาสัมปทาน)
การดำเนินการประเภทนี้โดยมากเป็นการให้บริการสาธารณะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (Service public industriel et commercial) อย่างกรณีการให้บริการน้ำประปา อย่างไรตามฝ่ายปกครองไม่สามารถมอบอำนาจให้เอกชนกระทำการใด ๆ ที่โดยเหตุผลหรือตัวกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองเท่านั้น (Service public administratif) เช่น การรักษาความปลอดภัยของตำรวจ และการดูแลเกี่ยวกับสภาพบุคคลหรือทะเบียนราษฎร์
Délégation de vote ใช้ในกรณีที่สมาชิกรัฐสภามอบอำนาจให้สมาชิกด้วยกันเป็นผู้ออกเสียงแทน
โดยปกติการมอบอำนาจให้ออกเสียงแทนเป็นเรื่องต้องห้ามของรัฐสภา และจะตกเป็นโมฆะ (nul) ตามมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ยกเว้นจะเป็นกรณีที่กำหนดไว้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (loi organique) และผู้รับมอบอำนาจจะออกเสียงแทนผู้มอบอำนาจได้ไม่เกิน 1 คน
ข้อยกเว้นที่ให้มอบอำนาจออกเสียงแทนได้กำหนดไว้ในมาตรา 1 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ Ordonnance n° 58-1066 du 7 novembre 1958 แก้ไขโดย Loi organique 62-1 du 3 janvier 1962 (ประกาศ JORF เมื่อ 4 janvier 1962) มี 6 กรณีดังนี้
1.ป่วย, ประสบอุบัติเหตุ หรือมีเหตุการร้ายแรงกับบุคคลในครอบครัว ที่ทำให้สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถเดินทางไปออกเสียงเองได้
2.ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล
3.ถูกเรียกไปรับราชการทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม
4.ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือวุฒิสภาให้ไปปฏิบัติหน้าที่ร่วมประชุมในระดับระหว่างประเทศ
5.ไม่อยู่ในประเทศในขณะเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ
6.กรณีเหตุสุดวิสัย ที่รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีๆไป
ในการมอบอำนาจของสมาชิกรัฐสภาให้ออกเสียงแทนนี้ มาตรา 2 ของ Ordonnance n° 58-1066 du 7 novembre 1958 ได้กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือกำหนดชื่อผู้รับมอบอำนาจ (délégué) ระยะเวลาที่มอบอำนาจ(หากไม่กำหนดจะใช้ได้ไม่เกิน 8 วัน นับแต่วันที่แจ้งแก่ประธานฯ แต่สามารถขอขยายระยะเวลาได้)พร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถมาออกเสียงเอง และลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ เสนอต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิก ก่อนที่จะมีการเปิดให้ออกเสียงหรือก่อนการออกเสียงครั้งแรกแล้วแต่กรณี
Délégant หมายถึงผู้มอบอำนาจ ส่วนผู้รับมอบอำนาจมักใช้คำว่า délégataire อย่างไรก็ดี ในบางกรณีมักใช้คำว่า délégué เช่นในกฎหมายแรงงาน เราเรียกผู้แทนลูกจ้างว่า délégué du personnel เป็นต้น
นอกจากนี้คำว่า délégation ยังสามารถหมายถึงคณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายร่วมกันให้เป็นตัวแทนหรือให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดจากหน่วยงานหนึ่งๆก็ได้
คำศัพท์(1)
Abus (n.m) การละเมิด, การเอาเปรียบ หรือ กระทำเกินเหตุ
คำว่า abus หรือ action abusive หมายถึง การกระทำที่เกินเหตุ การละเมิด หรือ การเอาเปรียบ
เราจะพบคำนี้ได้ในหลายกรณี เช่น
-abus du droit หมายถึง การใช้สิทธิเกินส่วน
-abus de confiance หมายถึง การยักยอก
-abus de domination หมายถึง การเอารัดเอาเปรียบโดยผู้ที่มีส่วนแบ่งในตลาดมากจนสามารถกำหนดทิศทางของตลาดนั้นๆได้ โดยหมายถึง การเอารัดเอาเปรียบกันระหว่างคู่แข่งขันทางการค้า หรือ Abus de position dominante และการเอารัดเอาเปรียบลูกค้า หรือ ผู้ค้ารายย่อย โดยผู้ค้าส่ง หรือ Abus de dépendance économique
-abus des biens sociaux หมายถึง การที่ผู้บริหารบริษัท นำทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ในทางมิชอบ
-clause abusive หมายถึง ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นต้น
คำว่า abus หรือ action abusive หมายถึง การกระทำที่เกินเหตุ การละเมิด หรือ การเอาเปรียบ
เราจะพบคำนี้ได้ในหลายกรณี เช่น
-abus du droit หมายถึง การใช้สิทธิเกินส่วน
-abus de confiance หมายถึง การยักยอก
-abus de domination หมายถึง การเอารัดเอาเปรียบโดยผู้ที่มีส่วนแบ่งในตลาดมากจนสามารถกำหนดทิศทางของตลาดนั้นๆได้ โดยหมายถึง การเอารัดเอาเปรียบกันระหว่างคู่แข่งขันทางการค้า หรือ Abus de position dominante และการเอารัดเอาเปรียบลูกค้า หรือ ผู้ค้ารายย่อย โดยผู้ค้าส่ง หรือ Abus de dépendance économique
-abus des biens sociaux หมายถึง การที่ผู้บริหารบริษัท นำทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ในทางมิชอบ
-clause abusive หมายถึง ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นต้น
ออสเตรเลียนแค็ทเทิลด็อก(Australian Cattle Dog)
ความสูงเฉลี่ย : 17-20 นิ้ว
น้ำหนักเฉลี่ย : 33-55 ปอนด์
อายุขัยเฉลี่ย : 10-13 ปี
กลุ่มสายพันธุ์ : เฮิร์ดดิ้งด็อก
น้ำหนักเฉลี่ย : 33-55 ปอนด์
อายุขัยเฉลี่ย : 10-13 ปี
กลุ่มสายพันธุ์ : เฮิร์ดดิ้งด็อก
อุปนิสัย : เป็นสุนัขแข็งแรงสุขภาพดี เคยถูกใช้ให้ทำหน้าที่ต้อนฝูงปศุสัตว์โดยใช้ปากงับที่ส้นเท้าของสัตว์และเห่าผสานกันไปด้วย จะต้องฝึกให้เชื่อฟังคำสั่งให้ได้และให้คุ้นเคยกับผู้คนและสัตว์อื่น ๆ ตั้งแต่อายุน้อย ๆ
ลักษณะเฉพาะ : มีขนสองชั้น ขนชั้นนอกสั้นและตรง ส่วนขนชั้นในดกและปุกปุย สีขนมักเป็นสีน้ำตาล หรือสีแดง
การแปรงขนและการออกกำลัง: ขนจะร่วงมากในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จะต้องคอยแปรงขนให้ทุกวันในช่วงฤดูนี้ และจะต้องพาออกกำลังให้มาก ๆ โดยการพาเดินหรือพาวิ่งไกลๆ
กำเนิด : ได้รับการผสมพันธุ์ไว้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไว้สำหรับต้อนปศุสัตว์ในพื้นที่ทุรกันดารและร้อนมาก ๆ มีบรรบุรุษจากพันธุ์คอลลี พันธุ์ดินโก พันธุ์ดัลเมเซียน เป็นต้น
คำแนะนำพิเศษ : คนที่มีประสบการณืเท่านั้นจึงควรเลี้ยงและก็ไม่ควรนำมาเลี้ยงในเมืองหรือในอาคารชุด
อเมริกันวอเตอร์สเปเนียล(American Water Spaniel)
ความสูงเฉลี่ย : 15-18 นิ้ว
น้ำหนักเฉลี่ย : 25-45 ปอนด์
อายุขัยเฉลี่ย : 10-12 ปี
กลุ่มสายพันธุ์ : สปอร์ตติ้งด็อก
อุปนิสัย : เป็นสุนัขที่ถูกผสมพันธุ์ไว้สำหรับใช้งาน คนมีประสบการณ์เท่านั้นจึงสมควรเลี้ยง จะต้องฝึกให้อยู่ได้ตามลำพังเสียก่อนมิฉะนั้นจะเห่าหอนเป็นที่หนวกหูมาก สามารถเข้ากับสัตว์อื่นและเด็กทารกได้แต่ต้องสัมพันธ์คุ้นเคยกันมาตั้งแต่ต้น
ลักษณะเฉพาะ : ขนอาจหยิกหยองหรือเป็นลอน สีขนเป็นสีตับโดดๆ หรือสีช็อกโกแลตเข้ม
การแปรงขนและการออกกำลัง : จะขนร่วงไม่มากแต่จะร่วงอย่างต่อเนื่อง จึงควรแปรงขนให้ทุกสัปดาห์และควรพาเดินออกกำลังและปล่อยให้วิ่งเล่นในที่ที่มีรั้วรอบขอบชิด นอกนั้นมันยังชอบว่ายน้ำเสียอีกด้วย
กำเนิด : อาจมีถิ่นกำเนิดแถวอเมริกันมิดเวสต์ อาจมีบรรพบุรษมาจากไอลิชวอเตอร์สเปเนียลและเคอร์ลีโคตติดรีทริฟเวอร์ ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของมันมีน้อยมาก เป็นการผสมพันธุ์ขึ้นมาให้มีความสามารถในทางล่าสัตว์ คาบสัตว์และให้ว่ายน้ำเก่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทำหน้าที่ไปเก็บนกน้ำต่าง ๆ
คำแนะนำพิเศษ : คนที่มีประสบการณืเท่านั้นจึงควรเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์นี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)