โทรเลข (telegraph) คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (radio telegraph, wireless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW)
โทรเลขตามสาย
ระบบโทรเลขตามสายระบบแรกที่เปิดให้บริการทางการค้าสร้างโดย เซอร์ ชาร์ลส์ วีทสโตน (Sir Charles Wheatstone) และ เซอร์ วิลเลียม ฟอเทอร์กิลล์ คุก (Sir William Fothergill Cooke) และวางสายตามรางรถไฟของบริษัท Great Western Railway เป็นระยะทาง 13 ไมล์ จากสถานีแพดดิงตัน (Paddington) ถึง เวสต์เดร์ตัน (West Drayton) ในอังกฤษ เริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2382 ระบบนี้ได้มีการจดสิทธิบัตรเมื่อ พ.ศ. 2380
ระบบโทรเลขนี้พัฒนาและจดสิทธิบัตรพร้อม ๆ กันในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2380 โดย แซมูเอล มอร์ส (Samuel Morse) เขาและผู้ช่วยคือ อัลเฟรด เวล (Alfred Vail) ประดิษฐ์รหัสมอร์ส
สายโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2409 ทำให้สามารถส่งโทรเลขข้ามมหาสมุทรระหว่างยุโรปและอเมริกาเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นมีความพยายามสร้างในปี พ.ศ. 2400 และ 2401 แต่ก็ทำงานได้ไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะเสีย การศึกษาสายโทรเลขใต้น้ำทำให้เกิดความสนใจการวิเคราะห์เรื่อง transmission line ทางคณิตศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2410 เดวิด บรูคส์ (David Brooks) ระหว่างที่ทำงานให้กับบริษัทรถไฟ Central Pacific Railroad ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาหลายฉบับเกี่ยวกับการปรับปรุงฉนวนสำหรับสายโทรเลข สิทธิบัตรของบรูคส์มีส่วนสำคัญในงานสร้างทางรถไฟข้ามทวีปสายแรกของอเมริกา
ความก้าวหน้าที่สำคัญอีกด้านของเทคโนโลยีโทรเลขเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2435 เมื่อ โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ได้รับสิทธิบัตรสำหรับโทรเลขสองทาง (two-way telegraph)
ระบบโทรเลขตามสายระบบแรกที่เปิดให้บริการทางการค้าสร้างโดย เซอร์ ชาร์ลส์ วีทสโตน (Sir Charles Wheatstone) และ เซอร์ วิลเลียม ฟอเทอร์กิลล์ คุก (Sir William Fothergill Cooke) และวางสายตามรางรถไฟของบริษัท Great Western Railway เป็นระยะทาง 13 ไมล์ จากสถานีแพดดิงตัน (Paddington) ถึง เวสต์เดร์ตัน (West Drayton) ในอังกฤษ เริ่มดำเนินงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2382 ระบบนี้ได้มีการจดสิทธิบัตรเมื่อ พ.ศ. 2380
ระบบโทรเลขนี้พัฒนาและจดสิทธิบัตรพร้อม ๆ กันในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2380 โดย แซมูเอล มอร์ส (Samuel Morse) เขาและผู้ช่วยคือ อัลเฟรด เวล (Alfred Vail) ประดิษฐ์รหัสมอร์ส
สายโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2409 ทำให้สามารถส่งโทรเลขข้ามมหาสมุทรระหว่างยุโรปและอเมริกาเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านั้นมีความพยายามสร้างในปี พ.ศ. 2400 และ 2401 แต่ก็ทำงานได้ไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะเสีย การศึกษาสายโทรเลขใต้น้ำทำให้เกิดความสนใจการวิเคราะห์เรื่อง transmission line ทางคณิตศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2410 เดวิด บรูคส์ (David Brooks) ระหว่างที่ทำงานให้กับบริษัทรถไฟ Central Pacific Railroad ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาหลายฉบับเกี่ยวกับการปรับปรุงฉนวนสำหรับสายโทรเลข สิทธิบัตรของบรูคส์มีส่วนสำคัญในงานสร้างทางรถไฟข้ามทวีปสายแรกของอเมริกา
ความก้าวหน้าที่สำคัญอีกด้านของเทคโนโลยีโทรเลขเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2435 เมื่อ โทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ได้รับสิทธิบัตรสำหรับโทรเลขสองทาง (two-way telegraph)
วิทยุโทรเลข
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) และนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์อื่น ๆ แสดงประโยชน์ของเทคโนโลยีไร้สาย วิทยุ และวิทยุโทรเลข ตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1890 เป็นต้นมา กูกลีเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ส่งและรับสัญญานวิทยุสัญญานแรกในประเทศอิตาลีในปี พ.ศ. 2438 เขาส่งวิทยุข้ามช่องแคบอังกฤษในปี พ.ศ. 2442 และข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในปี พ.ศ. 2445 จากอังกฤษถึงเมืองนิวฟันด์แลนด์
วิทยุโทรเลขพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการกู้ภัยทางทะเล โดยสามารถติดต่อระหว่างเรือ และจากเรือถึงฝั่ง
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) และนักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์อื่น ๆ แสดงประโยชน์ของเทคโนโลยีไร้สาย วิทยุ และวิทยุโทรเลข ตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษ 1890 เป็นต้นมา กูกลีเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ส่งและรับสัญญานวิทยุสัญญานแรกในประเทศอิตาลีในปี พ.ศ. 2438 เขาส่งวิทยุข้ามช่องแคบอังกฤษในปี พ.ศ. 2442 และข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกในปี พ.ศ. 2445 จากอังกฤษถึงเมืองนิวฟันด์แลนด์
วิทยุโทรเลขพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการกู้ภัยทางทะเล โดยสามารถติดต่อระหว่างเรือ และจากเรือถึงฝั่ง
หลักการทำงานของเครื่องส่งและเครื่องรับโทรเลข
หลักการทำงานของเครื่องส่งและเครื่องรับโทรเลข คือ เมื่อกดคันเคาะของเครื่องส่งให้วงจรไฟฟ้าปิด กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปในขดลวดของเครื่องรับ ทำให้ขดลวดของเครื่องรับเกิดสนามแม่เหล็ก จึงดูดแผ่นเหล็กมากระทบแกนเหล็ก ทำให้เกิดเสียงที่มีจังหวะเดียวกับคันเคาะ การปิดเปิดวงจรทำให้เกิดเสียงเป็นสัญญาณโทรเลข แล้วจึงแปลงสัญญาณโทรเลขให้เป็นข้อความ โดยกำหนดรหัสในโทรเลขไว้ 2 ลักษณะ คือ เคาะแล้วกดไว้ (กดยาว) และ เคาะแล้วปล่อย (กดสั้น)
เนื่องจากโทรเลขประสบปัญหาความไม่สะดวกในการที่ต้องเสียเวลาแปลรหัส จึงทำให้มีการประดิษฐ์โทรพิมพ์ขึ้นมาใช้แทนโทรเลข
หลักการทำงานของเครื่องส่งและเครื่องรับโทรเลข คือ เมื่อกดคันเคาะของเครื่องส่งให้วงจรไฟฟ้าปิด กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าไปในขดลวดของเครื่องรับ ทำให้ขดลวดของเครื่องรับเกิดสนามแม่เหล็ก จึงดูดแผ่นเหล็กมากระทบแกนเหล็ก ทำให้เกิดเสียงที่มีจังหวะเดียวกับคันเคาะ การปิดเปิดวงจรทำให้เกิดเสียงเป็นสัญญาณโทรเลข แล้วจึงแปลงสัญญาณโทรเลขให้เป็นข้อความ โดยกำหนดรหัสในโทรเลขไว้ 2 ลักษณะ คือ เคาะแล้วกดไว้ (กดยาว) และ เคาะแล้วปล่อย (กดสั้น)
เนื่องจากโทรเลขประสบปัญหาความไม่สะดวกในการที่ต้องเสียเวลาแปลรหัส จึงทำให้มีการประดิษฐ์โทรพิมพ์ขึ้นมาใช้แทนโทรเลข
ข้อดีและข้อเสียของโทรเลข
ข้อดีของโทรเลข คือ
สามารถส่งข่าวสารและข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ
ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้ปริการโทรเลขได้ในราคาถูก
ข้อเสียของโทรเลข คือ
ต้องแปลรหัสโทรเลขทั้งขณะส่งและขณะรับ ทำให้เสียเวลา
หากแปลรหัสผิดอาจทำให้ข่าวสารและข้อมูลนั้นๆมีใจความเปลี่ยนไป
ข้อดีของโทรเลข คือ
สามารถส่งข่าวสารและข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ
ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้ปริการโทรเลขได้ในราคาถูก
ข้อเสียของโทรเลข คือ
ต้องแปลรหัสโทรเลขทั้งขณะส่งและขณะรับ ทำให้เสียเวลา
หากแปลรหัสผิดอาจทำให้ข่าวสารและข้อมูลนั้นๆมีใจความเปลี่ยนไป