วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

chrysanthème


Le Sceau Impérial du Japon, littéralement « Noble insigne du chrysanthème utilisé depuis la période Kamakura par l'empereur du Japon et les membres de sa famille, est généralement considéré comme l'emblème national japonais, bien qu'il n'ait plus aucun statut officiel depuis la fin de la deuxième guerre mondiale. Il figure, par exemple, sur le passeport, les badges des membres de la Diète et daans les halls des ambassades. Il en existe trois variantes principales : à seize pétales doubles, insigne impérial par excellence, à seize pétale simples (passeports et badges) et à quatorze pétales simples (membres de la famille impériale).


Le premier à l'utiliser fut l'empereur Go-Toba (1180-1239). Moins respecté durant la période Edo que l'insigne du bakufu, il a pu à cette époque être emprunté par le peuple pour décorer des pâtisseries ou des objets bouddhistes. Au XIXe siècle, la restauration de Meiji en a strictement réglementé l'usage. Réservé à l'empereur et sa famille dès 1869, la forme à seize pétales doubles fut utilisée exclusivement par l'empereur à partir de 1871, les autres membres de la famille employant une variante à quatorze pétales simples. Les lieux saints du shintoïsme pouvaient en utiliser également une variante. Il figurait durant la deuxième guerre mondiale sur certains équipements de marine et d'infanterie. Depuis la seconde moitié du XXe siècle, son emploi n'est plus restreint à une catégorie spéciale de personnes ou d'instititions, mais il ne peut être enregistré comme logo commercial.

คำศัพท์(14)

Bien-être (n.m) สวัสดิการ (รัฐธรรมนูญ, กม. แรงงาน)

คำว่า bien être ตามปกติแล้วไม่ได้เป็นศัพท์เฉพาะทางกฎหมาย โดยจะหมายถึง ความกินดีอยู่ดี คำนี้เราจะพบบ่อยในทางเศรษฐกิจ

ในส่วนของวิชากฎหมาย เรามักจะพบคำนี้ได้ในกฎหมายแรงงาน โดยจะหมายถึง "สวัสดิการ" อย่างไรก็ดี โดยความหมายของ bien être หมายถึง สภาพความกินดีอยู่ดี อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น เมื่อ จะกล่าวว่านายจ้างให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง เรามักจะพบประโยคว่า L'employeur assure le bien-être de ses employés.

ตัวอย่างการใช้คำนี้ เราจะพบในบทนำของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่ 4 ของประเทศฝรั่งเศสปี 1946 (Préambule de la Constitution du 27 octobre 1946 de la IV République) ข้อ 17 ได้บัญญัติไว้ถึงการใช้ทรัพยากรและความพยายาม เพื่อพัฒนาประเทศ เพิ่มพูนความกินดีอยู่ดี (bien-être) และรักษาความสงบเรียบร้อยของชาติ (...ปัจจุบัน ประเทศฝรั่งเศสใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่ 5 ปี 1958 (Constitution de la V République du 4 octobre 1958) แต่บทนำของ รัฐธรรมนูญปี 1946 ยังคงถูกพิจารณาว่ามีศักดิ์เทียบเท่ากับรัฐธรรมนูญอยู่...)

คำศัพท์(13)

Acte de gouvernement (n.m.) การกระทำของรัฐบาล (กม. ปกครอง)

คำว่า"การกระทำของรัฐบาล"หรือ "Act de gouvernement" นี้ ใช้เพื่อเรียก การกระทำที่รัฐบาลทำแล้วศาลปกครองจะไม่สามารถเข้ามาควบคุมหรือตัดสินให้เป็นโมฆะได้

เพื่อพิจารณาว่าการกระทำใดบ้างเป็นการกระทำของรัฐบาล ในสมัยก่อนศาลปกครองของฝรั่งเศสใช้ ทฤษฎี "มูลเหตุจูงใจทางการเมือง"(Mobile politique)ในการพิจารณา โดยการกระทำที่มาจากเหตุจูงใจทางการเมืองจัดว่าเป็นการกระทำของรัฐบาล และศาลปกครองจะไม่เข้ามาควบคุม

อย่างไรก็ดี ต่อมาในปี ค.ศ.1875 ศาลปกครองสูงสุดของฝรั่งเศสได้นำทฤษฎี "มูลเหตุจูงใจทางการเมือง"(Mobile politique)มาใช้เป็นเหตุยกเลิกการกระทำทางปกครอง (CE 19 février 1875 Prince Napoléon) โดยพิจารณาว่า การกระทำที่มีเหตุจูงใจทางการเมือง ไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล แต่เป็นการกระทำทางปกครองที่ไม่ถูกต้อง และต้องเป็นโมฆะ โดยอาจเป็นโมฆะด้วยเหตุใช้อำนาจในทางที่ผิด (détournement du pouvoir) หรือ ใช้กฎหมายผิด (erreur de droit)ทั้งนี้เนื่องจากการกระทำทางปกครองจะต้องมีเหตุจูงใจคือผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เหตุจูงใจทางการเมือง

ปัจจุบัน เราสามารถแบ่ง "การกระทำของรัฐบาล (Act de gouvernement)" ออกได้เป็น 2 ประเภท (G.CORNU,Vocabulaire juridique,PUF 1987 และ M.LONG,P. WEIL,G.BRAIBANT,P.DELVOLVE และ B.GENEVOIS,Les grands arrêts de la jurisprudence administrative, Dalloz,2001) ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การตัดสินใจให้ทำประชามติ การประกาศใช้มาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสในกรณีวิกฤตโดยประธานาธิบดีจะมีอำนาจในการออกกฎต่างๆ การตัดสินใจยุบสภา การแต่งตั้งหรือถอดถอนรัฐมนตรี การประกาศใช้กฎหมาย เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การเจรจาสนธิสัญญาระหว่างประเทศ การอนุวัติการ การปฏิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทหารระหว่างประเทศ


การกระทำของรัฐบาลไม่สามารถถูกควบคุมโดยศาลปกครอง และรัฐ (ประเทศ) ไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของรัฐบาล (สนธิสัญญาระหว่างประเทศไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล เนื่องจากสนธิสัญญาไม่ใช่การกระทำของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง ฝรั่งเศสยอมรับว่ารัฐอาจต้องรับผิดจากผลของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และเป็นการรับผิดชอบโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด (Résponsabilité sans faute))

Bloodhound(บลัดฮาวนด์)


ความสูงเฉลี่ย : 23-27 นิ้ว


น้ำหนักเฉลี่ย : 80-110 ปอนด์


อายุขัยเฉลี่ย : 10-12 ปี


กลุ่มสายพันธุ์ : เซ้นท์ฮาวนด์


อุปนิสัย : ชอบคน ไม่เกเรกับสัตว์อื่น จะเห่าเมื่อเห็นคนแปลกหน้าเข้ามาในถิ่นที่อยู่ตน แต่ก็เห่าไปอย่างนั้นเองจะไม่ทำร้าย


ลักษณะเฉพาะ : มีใบหน้าแปลกกว่าสุนัขพันธุ์อื่น มีหนังหย่อนยานที่ศีรษะและที่หู เวลาเดิน วิ่งและก้มหนังหย่อนนี้จะกระเพื่อมสั่นไหว มีหูยาวยานมีสง่า ขนสั้นและหนา สีขนดำและน้ำคาล แดงและน้ำตาล หรือสีน้ำตาลปนเหลือง


การแปรงขนและการออกกำลัง : ต้องแปรงขนและทำความสะอาดหูให้ทุกสัปดาห์ ต้องให้ออกกำลังโดยพาเดินวันละนานๆเวลาพาเดินต้องมีสายจูงไม่เช่นนั้นจะตามดมกลิ่นไปทั่ว จะไม่ตามเจ้าของ


กำเนิด : เป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ สุนัขเซ้นท์ฮาวน์หลายพันธุ์ในปัจจุบัน อาทิ บาสเล็ทฮาวน์ด บีเกิล ฟ็อกซ์ฮาวนด์ ล้วนมีสายพันธุ์มาจากบรรพบุรุษที่เป็นบลัดฮาวนด์ทั้งนั้น

Black-and-Tan Coonhound (แบล็กแอนด์แทนคูนฮาวนด์)


ความสูงเฉลี่ย : 23-27 นิ้ว


น้ำหนักเฉลี่ย : 50-75 ปอนด์


อายุขัยเฉลี่ย : 10-12ปี


กลุ่มสายพันธุ์ : เซ้นท์ฮาวนด์


อุปนิสัย : สุภาพ ขี้เล่น เข้ากับทุกคนได้ รวมทั้งเข้ากับเด็กและสัตว์อื่น


ลักษณะเฉพาะ : ขนสั้นหนา สีขนดำ มีจุดน้ำตาลที่หู ที่จมูกสองข้าง ที่อก ที่ขา สีข้าง และมีจุดทำที่เล็กเท้า


การแปรงขนและการออกกำลังกาย : ไม่ต้องแปรงขนมาก แค่สัปดาห์ละหนก็พอแล้ว โดยเฉพาะเมื่อขนร่วงมาก ๆ ไม่ต้องให้ออกกำลังมาก แค่พาเดินเล่นช่วงทางใกล้ๆและปล่อยให้วิ่งเล่นในที่ปลอดภัยทุกวัน


กำเนิด : สืบสายพันธุ์จากพันธุ์อิงลิชทัลบอตฮาวนด์ พันธุ์บลัดฮาวนด์ และพันธุ์ฟ็อกซ์ฮาวนด์ (โดยเฉาพะพันธุ์เวอร์จิเนียฟ็อกว์ฮาวนด์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 )