ความเครียด
ความเครียด เป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย เป็นปฏิกิริยาของร่างกายและจิตใจของเราในการปรับตัวต่อ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อเตรียมตนเอง และสามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่าง ไม่คาดคิด
ในทางจิตวิทยา ถือว่าความเครียดเป็นทั้งสัญญานเตือนภัย และทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นทำให้เรารู้สึกตื่นตัวต่อเหตุการณ์ ที่เราต้องเผชิญ เราต้องเข้าใจก่อนว่าความเครียดเป็นความปกติอย่างหนึ่งของมนุษย์เพราะร่างกายและจิตใจของคนเราจะมี ความอดทนต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ระดับหนึ่ง เมื่อมีสิ่งต่างๆมากระทบ ร่างกายและจิตใจจะเริ่มมีปฏิกิริยาเพื่อบอกให้ เรารู้ว่าเราจะรับ สิ่งที่เรียกว่า ความเครียด ได้มากแค่ไหน
ความเครียดเกิดจากอะไร
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัญหาการเงิน การงาน การเรียน ครอบครัว สุขภาพ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ฯลฯ รวมถึงการมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
การคิดหรือการประเมินสถานการณ์ของบุคคล สถานการณ์ต่าง ๆ อาจไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อบุคคล แต่เกิดจากการที่เราแปลความหมายต่อสถานการณ์นั้น ๆ และตอบสนองต่อความหมายที่แปล ดังเราจะ สังเกตได้ว่าคนที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจังกับชีวิต ใจร้อน
ความเครียด เป็นทั้งประโยชน์และโทษ แต่ความเครียดที่เป็นโทษนั้น เป็นความเครียดชนิดที่เกินความจำเป็น แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับกลายมาเป็นอุปสรรคและอันตรายต่อชีวิต เมื่อคนเราอยู่ในภาวะตึงเครียด ร่างกายก็จะเกิดความเตรียมพร้อมที่จะ สู้ หรือ หนี โดยที่ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว หายใจถี่มากขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็งพร้อมรับสถานการณ์ อุณภูมิร่างกายสูงขึ้น มีเหงื่อออก ฯลฯ เมื่อวิกฤตการณ์ผ่านพ้นไปร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่ความเครียดที่เป็นอันตราย ก็คือความเครียดที่มากเกินความจำเป็น เมื่อเกิดความเครียดแล้วจะมีอาการต่างๆคงอยู่ไม่ลดหรือหายไปเพื่อกลับสู่สภาวะปกติ เราลองมาดูกันดีกว่าว่าความเครียดนี้มีกี่ระดับ
ระดับของความเครียด
ความเครียดระดับปกติ เป็นระดับที่กระตุ้นตัวของเราให้ดำเนินชีวิตตามระบบของของสังคมที่เหมาะสม เช่น การที่ตื่นนอนแต่เช้า การที่ต้องพูดหน้าชั้น ฯลฯ เป็นระดับความเครียดที่เป็นประโยชน์
ความเครียดมากกว่าปกติเล็กน้อย อาจเกิดขึ้นในบางช่วงของชีวิต หรือมีเหตุการณ์บางอย่างเป็นครั้งคราว เช่น การเตรียมตัวสอบปลายเทอม การเร่งส่งงานบางอย่าง ฯลฯ
ความเครียดระดับปานกลาง เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาเรื้อรังและยาวนาน เช่น ตกงานมาหลายเดือน มีหนี้สินมาก เจ็บป่วยมานาน ฯลฯ
ความเครียดระดับสูงสุด คือ เครีดมากอาจเกิดจากเรื่องสุดวิสัย เหตุการณ์รุนแรงไท่คาดฝัน เช่น เกิดอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ คนในครอบครัวเสียชีวิต ฯลฯ
คุณเครียดแล้วหรือยัง
การรู้เท่าทันความเครียด เริ่มต้นเราต้องรู้ตัวเราเองก่อนว่าเราเครียดหรือไม่ โดยพิจารณาจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นจาก ทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ซึ่งเราจะสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้
ความผิดปกติด้านร่างกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือท้องผูก ถอนหายใจบ่อย ๆ ใจสั่น เหงื่อออกตามมือเท้า นอนไม่หลับหรือง่วงหงาวตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มือเย็นเท้าเย็น ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อย ๆ แพ้อากาศง่าย เป็นต้น
ความผิดปกติด้านจิตใจ ได้แก่ กังวล คิดมาก ฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ หมดความรู้สึกสนุกสนาน สิ้นหวัง เป็นต้น
ความผิดปกติด้านพฤติกรรม ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรามากขึ้น ใช้ยาเสพติด ใช้ยานอนหลับ จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อย ๆ ดึงผม กัดเล็บ กัดฟัน ผุดลุกผุดนั่ง เงียบขรึม เก็บตัว เป็นต้น
ผลของความเครียดต่อชีวิต
ผลต่อสุขภาพทางกาย ได้แก่ อาการไม่สบายต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ความผิดปกติของหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ อาการท้องผูกท้องเสียบ่อยๆ นอนไม่หลับ หอบหืด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ
ผลต่อสุขภาพจิต นำไปสู่ความวิตกกังวล ซึมเศร้า กลัวอย่างไรเหตุผล อารมณ์ไม่มั่นคงและเปลี่ยนแปลงง่าย หรือป่วยด้วยโรคประสาทบางอย่าง
นอกจากที่กล่าวมา ความเครียดส่งผลต่อร่างกายและจิตใจแล้ว มันยังส่งผลต่อไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน สัมพันธภาพต่อครอบครัวและบุคคลแวดล้อม ซึ่งเมื่อประสิทธิภาพในการทำงานตกต่ำ สัมพันธภาพกับคนอื่นๆแย่ลง จิตใจย่อมได้รับผลตึงเครียดที่ซ้ำซ้อนมากขึ้น ซึ่งนับว่า ผลของความเครียดมีส่วนสัมพันธ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
คิดอย่างไรไม่ให้เครียด
ความคิด เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดความเครียด หากรู้จักคิดให้เป็น ก็จะช่วยให้ลดความเครียดไปได้มาก
1. คิดในแง่ยืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเอาแต่เข้มงวด จับผิด หรือตัดสินผิดถูกด้วยตัวเองและผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา จงละวาง ผ่อนหนักเป็นเบา ลดทิฐิ รู้จักให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคือง หัดลืมเสียบ้าง ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น
2. คิดอย่างมีเหตุผล อย่าด่วนเชื่ออะไรง่าย ๆ แล้วเก็บเอามาคิดวิตกกังวล ให้พยายามใช้เหตุผล ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไตร่ตรองให้รอบครอบเสียก่อน นอกจากจะไม่ต้องตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกได้ง่าย ๆ แล้วยังตัดความกังวลได้ด้วย
3. คิดหลาย ๆ แง่มุม ลองคิดหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี เพราะไม่ว่าคนหรือไม่ว่าเหตุการณ์ใดก็ตาม ย่อมมีทั้งส่วนดีและไม่ดีประกอบกันทั้งนั้น อย่ามองเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ นอกจากนี้ควรหัดคิดในมุมของคนอื่นบ้าง เช่น เพื่อนจะคิดอย่างไร จะช่วยให้มองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม
4. คิดแต่เรื่องดี ๆ ถ้าคอยคิดถึงแต่เรื่องร่าย ๆ เรื่องความล้มเหลว ผิดหวังหรือเรื่องไม่เป็นสุขทั้งหลาย ก็จะยิ่งเครียดกันไปใหญ่ ควรคิดถึงเรื่องดี ๆ ให้มากขึ้น เช่น คิดถึงประสบการณ์ที่เป็นสุขในอดีต ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา คำชมเชยที่ได้รับ ความดีของแฟน ความมีน้ำใจของเพื่อน ฯลฯ จะช่วยให้สบายใจมากขึ้น
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าคิดหมกหมุ่นแต่ตัวเองเท่านั้น เปิดใจกว้าง รับรู้ความเป็นไปของคนใกล้ชิด และใส่ใจที่จะช่วยเหลือ สนใจปัญหาของผู้คนในสังคมบ้าง บางทีอาจพบว่าปัญหาที่กำลังเครียดอยู่นี้ช่างเล็กน้อยเหลือเกิน เมื่อเทียบปัญหากับของคนอื่น ๆ คุณจะรู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าได้ช่วยเหลือคนอื่นจะสุขใจขึ้นเป็นทวีคูณ
วิธีลดความเครียดมีหลายวิธี
วิธีแก้ไขที่ปลายเหตุ ได้แก่การใช้ยา เช่น ยาหม่อง ยาดม ยาแก้ปวดหัว ยาลดกรดในกระเพาะ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ ยาลดความเครียด แต่่วิธีดังกล่าวไม่ได้แก้ไขความเครียดที่ต้นเหตุ อาจจะทำให้ความเครียดนั้นเกิดขึ้นได้อีก และอาจจะผลต่อเนื่อที่ต้องพึ่งการใช้ยาในระยะยาว
วิธีแก้ไขที่ต้นเหตุ ได้แก่
แก้ไขเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น งานอดิเรกที่ชอบ ฝึกบริหารร่างกายและออกกำลังกายอย่างง่ายๆ
เปลี่ยนแปลงนิสัยและทัศนคติต่อการดำเนินชีวิต เช่น ประณีประณอม ลดความเข้มงวดบางอย่างในชีวิต ลดการแข่งขัน
หาความรู้ความเข้าใจในโภชนาการ เช่น รู้ว่าอาหารเครื่องดื่มชนิดใดส่งเสริมความเครียด เช่น เหล้า อาหารมัน
สำรวจและเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อตัวเองและผู้อื่น มองตนเองในแง่ดี และมองผู้อื่นด้วยความเข้าใจ
สำรวจและปรับปรุงสัมพันธภาพต่อคนในครอบครัวและสังคมภายนอก
ฝึกผ่อนคลายความเครียดโดยตรง เช่น การฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ มีสติกับการทำงาน การออกกำลังกายอย่างง่ายๆ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวด การสำรวจท่านั้ง นอน ยืน เดิน การใช้จิตนาการผ่อนคลายความเครียด
ความเครียด เป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกาย เป็นปฏิกิริยาของร่างกายและจิตใจของเราในการปรับตัวต่อ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อเตรียมตนเอง และสามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่าง ไม่คาดคิด
ในทางจิตวิทยา ถือว่าความเครียดเป็นทั้งสัญญานเตือนภัย และทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นทำให้เรารู้สึกตื่นตัวต่อเหตุการณ์ ที่เราต้องเผชิญ เราต้องเข้าใจก่อนว่าความเครียดเป็นความปกติอย่างหนึ่งของมนุษย์เพราะร่างกายและจิตใจของคนเราจะมี ความอดทนต่อสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ระดับหนึ่ง เมื่อมีสิ่งต่างๆมากระทบ ร่างกายและจิตใจจะเริ่มมีปฏิกิริยาเพื่อบอกให้ เรารู้ว่าเราจะรับ สิ่งที่เรียกว่า ความเครียด ได้มากแค่ไหน
ความเครียดเกิดจากอะไร
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัญหาการเงิน การงาน การเรียน ครอบครัว สุขภาพ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ฯลฯ รวมถึงการมีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
การคิดหรือการประเมินสถานการณ์ของบุคคล สถานการณ์ต่าง ๆ อาจไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อบุคคล แต่เกิดจากการที่เราแปลความหมายต่อสถานการณ์นั้น ๆ และตอบสนองต่อความหมายที่แปล ดังเราจะ สังเกตได้ว่าคนที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจังกับชีวิต ใจร้อน
ความเครียด เป็นทั้งประโยชน์และโทษ แต่ความเครียดที่เป็นโทษนั้น เป็นความเครียดชนิดที่เกินความจำเป็น แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับกลายมาเป็นอุปสรรคและอันตรายต่อชีวิต เมื่อคนเราอยู่ในภาวะตึงเครียด ร่างกายก็จะเกิดความเตรียมพร้อมที่จะ สู้ หรือ หนี โดยที่ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว หายใจถี่มากขึ้น กล้ามเนื้อหดเกร็งพร้อมรับสถานการณ์ อุณภูมิร่างกายสูงขึ้น มีเหงื่อออก ฯลฯ เมื่อวิกฤตการณ์ผ่านพ้นไปร่างกายจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่ความเครียดที่เป็นอันตราย ก็คือความเครียดที่มากเกินความจำเป็น เมื่อเกิดความเครียดแล้วจะมีอาการต่างๆคงอยู่ไม่ลดหรือหายไปเพื่อกลับสู่สภาวะปกติ เราลองมาดูกันดีกว่าว่าความเครียดนี้มีกี่ระดับ
ระดับของความเครียด
ความเครียดระดับปกติ เป็นระดับที่กระตุ้นตัวของเราให้ดำเนินชีวิตตามระบบของของสังคมที่เหมาะสม เช่น การที่ตื่นนอนแต่เช้า การที่ต้องพูดหน้าชั้น ฯลฯ เป็นระดับความเครียดที่เป็นประโยชน์
ความเครียดมากกว่าปกติเล็กน้อย อาจเกิดขึ้นในบางช่วงของชีวิต หรือมีเหตุการณ์บางอย่างเป็นครั้งคราว เช่น การเตรียมตัวสอบปลายเทอม การเร่งส่งงานบางอย่าง ฯลฯ
ความเครียดระดับปานกลาง เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาเรื้อรังและยาวนาน เช่น ตกงานมาหลายเดือน มีหนี้สินมาก เจ็บป่วยมานาน ฯลฯ
ความเครียดระดับสูงสุด คือ เครีดมากอาจเกิดจากเรื่องสุดวิสัย เหตุการณ์รุนแรงไท่คาดฝัน เช่น เกิดอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ คนในครอบครัวเสียชีวิต ฯลฯ
คุณเครียดแล้วหรือยัง
การรู้เท่าทันความเครียด เริ่มต้นเราต้องรู้ตัวเราเองก่อนว่าเราเครียดหรือไม่ โดยพิจารณาจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นจาก ทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม ซึ่งเราจะสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้
ความผิดปกติด้านร่างกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือท้องผูก ถอนหายใจบ่อย ๆ ใจสั่น เหงื่อออกตามมือเท้า นอนไม่หลับหรือง่วงหงาวตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มือเย็นเท้าเย็น ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อย ๆ แพ้อากาศง่าย เป็นต้น
ความผิดปกติด้านจิตใจ ได้แก่ กังวล คิดมาก ฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ หมดความรู้สึกสนุกสนาน สิ้นหวัง เป็นต้น
ความผิดปกติด้านพฤติกรรม ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรามากขึ้น ใช้ยาเสพติด ใช้ยานอนหลับ จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อย ๆ ดึงผม กัดเล็บ กัดฟัน ผุดลุกผุดนั่ง เงียบขรึม เก็บตัว เป็นต้น
ผลของความเครียดต่อชีวิต
ผลต่อสุขภาพทางกาย ได้แก่ อาการไม่สบายต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ความผิดปกติของหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ อาการท้องผูกท้องเสียบ่อยๆ นอนไม่หลับ หอบหืด เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ
ผลต่อสุขภาพจิต นำไปสู่ความวิตกกังวล ซึมเศร้า กลัวอย่างไรเหตุผล อารมณ์ไม่มั่นคงและเปลี่ยนแปลงง่าย หรือป่วยด้วยโรคประสาทบางอย่าง
นอกจากที่กล่าวมา ความเครียดส่งผลต่อร่างกายและจิตใจแล้ว มันยังส่งผลต่อไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน สัมพันธภาพต่อครอบครัวและบุคคลแวดล้อม ซึ่งเมื่อประสิทธิภาพในการทำงานตกต่ำ สัมพันธภาพกับคนอื่นๆแย่ลง จิตใจย่อมได้รับผลตึงเครียดที่ซ้ำซ้อนมากขึ้น ซึ่งนับว่า ผลของความเครียดมีส่วนสัมพันธ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
คิดอย่างไรไม่ให้เครียด
ความคิด เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดความเครียด หากรู้จักคิดให้เป็น ก็จะช่วยให้ลดความเครียดไปได้มาก
1. คิดในแง่ยืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเอาแต่เข้มงวด จับผิด หรือตัดสินผิดถูกด้วยตัวเองและผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา จงละวาง ผ่อนหนักเป็นเบา ลดทิฐิ รู้จักให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคือง หัดลืมเสียบ้าง ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น
2. คิดอย่างมีเหตุผล อย่าด่วนเชื่ออะไรง่าย ๆ แล้วเก็บเอามาคิดวิตกกังวล ให้พยายามใช้เหตุผล ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไตร่ตรองให้รอบครอบเสียก่อน นอกจากจะไม่ต้องตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกได้ง่าย ๆ แล้วยังตัดความกังวลได้ด้วย
3. คิดหลาย ๆ แง่มุม ลองคิดหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี เพราะไม่ว่าคนหรือไม่ว่าเหตุการณ์ใดก็ตาม ย่อมมีทั้งส่วนดีและไม่ดีประกอบกันทั้งนั้น อย่ามองเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ นอกจากนี้ควรหัดคิดในมุมของคนอื่นบ้าง เช่น เพื่อนจะคิดอย่างไร จะช่วยให้มองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม
4. คิดแต่เรื่องดี ๆ ถ้าคอยคิดถึงแต่เรื่องร่าย ๆ เรื่องความล้มเหลว ผิดหวังหรือเรื่องไม่เป็นสุขทั้งหลาย ก็จะยิ่งเครียดกันไปใหญ่ ควรคิดถึงเรื่องดี ๆ ให้มากขึ้น เช่น คิดถึงประสบการณ์ที่เป็นสุขในอดีต ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา คำชมเชยที่ได้รับ ความดีของแฟน ความมีน้ำใจของเพื่อน ฯลฯ จะช่วยให้สบายใจมากขึ้น
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าคิดหมกหมุ่นแต่ตัวเองเท่านั้น เปิดใจกว้าง รับรู้ความเป็นไปของคนใกล้ชิด และใส่ใจที่จะช่วยเหลือ สนใจปัญหาของผู้คนในสังคมบ้าง บางทีอาจพบว่าปัญหาที่กำลังเครียดอยู่นี้ช่างเล็กน้อยเหลือเกิน เมื่อเทียบปัญหากับของคนอื่น ๆ คุณจะรู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าได้ช่วยเหลือคนอื่นจะสุขใจขึ้นเป็นทวีคูณ
วิธีลดความเครียดมีหลายวิธี
วิธีแก้ไขที่ปลายเหตุ ได้แก่การใช้ยา เช่น ยาหม่อง ยาดม ยาแก้ปวดหัว ยาลดกรดในกระเพาะ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ ยาลดความเครียด แต่่วิธีดังกล่าวไม่ได้แก้ไขความเครียดที่ต้นเหตุ อาจจะทำให้ความเครียดนั้นเกิดขึ้นได้อีก และอาจจะผลต่อเนื่อที่ต้องพึ่งการใช้ยาในระยะยาว
วิธีแก้ไขที่ต้นเหตุ ได้แก่
แก้ไขเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น งานอดิเรกที่ชอบ ฝึกบริหารร่างกายและออกกำลังกายอย่างง่ายๆ
เปลี่ยนแปลงนิสัยและทัศนคติต่อการดำเนินชีวิต เช่น ประณีประณอม ลดความเข้มงวดบางอย่างในชีวิต ลดการแข่งขัน
หาความรู้ความเข้าใจในโภชนาการ เช่น รู้ว่าอาหารเครื่องดื่มชนิดใดส่งเสริมความเครียด เช่น เหล้า อาหารมัน
สำรวจและเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อตัวเองและผู้อื่น มองตนเองในแง่ดี และมองผู้อื่นด้วยความเข้าใจ
สำรวจและปรับปรุงสัมพันธภาพต่อคนในครอบครัวและสังคมภายนอก
ฝึกผ่อนคลายความเครียดโดยตรง เช่น การฝึกหายใจให้ถูกวิธี การฝึกสมาธิ มีสติกับการทำงาน การออกกำลังกายอย่างง่ายๆ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวด การสำรวจท่านั้ง นอน ยืน เดิน การใช้จิตนาการผ่อนคลายความเครียด
1 ความคิดเห็น:
เคยเครียด แต่เดี๋ยวนี้หายแล้ว
ดิฉันแต่งงานเมื่อปลายปี พ.ศ. 2534
และได้อยู่กินกับสามีด้วยดีจนมีลูกสาว ลูกชายอย่างละคน
ชีวิตก็มีความสุขดี มีรถยนต์ มีบ้านในเนื้อที่ 24 ตารางวาบนถนนแจ้งวัฒนะ
ดิฉันมีน้องสาว 1 คนเค้าไปได้สามีเป็น ตลก คาเฟ่ ที่มีเมียหลวงอยู่แล้ว
ตอนหลังเค้าเลิกกัน เหมือนชะตาชีวิตเล่น ตลก
เขามาหาดิฉัน ดิฉันก็ให้น้องสาวมาอยู่ด้วยกัน
แต่ว่ามาคนเดียวนะคะส่วนลูกๆอยู่กับสามีเขา
น้องสาวมาอยู่กับดิฉันได้หลายปี จนมา วันหนึ่งหัวใจดิฉันเกือบสลาย
คือสามีดิฉันจะเลิกงานเวลา 24.00 น.และในเวลา 00.45 น.
ดิฉันได้ยินเสียงรถของสามีมาถึงบ้านแล้วแต่ดิฉันก็หลับต่อ มาตกใจตื่นตอน
ตี 2 กว่านิด หน่อย ไม่เห็นสามีนอนอยู่
ลุกขึ้นไปดูที่ห้องลูกๆก็ไม่มี ในห้องน้ำก็ไม่มี
ใจหายวาบ!! ( เจ้าประคู้น ผีบ้าน ผีเรือน เล่น ตลก ดลใจ ให้คิดอะไร แปลก ๆ)
รีบลงมาที่โซฟาข้างล่างก็ไม่มี
รถยนต์ก็จอดอยู่แต่สามีดิฉันไปไหน
มองที่ประตูบ้านก็ใส่กลอนอยู่ ไม่ ตลก แล้ว
ดิฉันหัวใจเต้นแรงมาก
เหลืออยู่ห้องเดียวคือ...ห้องน้องสาว..ของดิฉัน
ดิฉันเดินไปเปิดไฟจนสว่างทั่วบ้าน
หัวใจเต้นแรงผิดปกติอยากจะเป็นลม
แล้วมองไปที่ห้องของน้องสาว แล้วพยายามตั้งสติ คิดในใจว่า
ถ้าเขาเดินออกมาจากห้องนั้น ดิฉันจะทำอย่างไร
ดิฉันนั่งมองประตูห้องของน้องสาวน้ำตาก็ไหล
นึกในใจ ว่า จะทำอย่างไร ?
เราจะทำอย่างไรดี
ลูกก็ยังเล็กดิฉันตัดสินใจ ? เลิก?
ยังไงก็ต้องเลิก เทวดาฟ้า ดิน ทำไม เล่น ตลก กับฉันอย่างนี้
แล้วให้เขาไปอยู่กับน้องสาวที่อื่น ส่วนดิฉันจะอยู่กับลูกๆ
คือจะยกสามีให้น้องสาวไป ถ้าเขารักกัน
จนประมาณ ตี 3 กว่าๆ
ดิฉันนึกขึ้นได้ ว่าถ้าดิฉันโทรฯเข้า มือถือ เขาแล้วเสียงโทรศัพท์ก็ต้องดังออกมาจากห้อง น้องสาวแน่ๆ
เป็นไง เป็นกัน ดิฉันตัดสินใจ โทรฯ แล้วก็ติดจริงๆ ค่ะ
ใจดิฉันเต้นแรงมาก จนเกือบหลุดออกมาข้างนอก
ดิฉัน ยืนอยู่หน้าห้องน้องสาว.... แต่เอ๊ะ ไม่มีเสียงโทรศัพท์ดังออกมาจากในห้องของน้องสาวเลย แต่โทรฯ ติด แล้วเขาอยู่ไหน ?? ฮัลโหล ๆๆๆๆๆ
เธออยู่ไหน ?อย่ามา เล่น ตลก กับชั้นนะ!! ดิฉัน ตวาด
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ก็นอนอยู่ในรถสิ อีบ้า
รู้ทั้งรู้ว่าวันนี้กูจะกลับดึกยังเสือก ล๊อค ประตูอีก ยุงก็กัด.
ติดตามเรื่องตลกคลายเครียดได้ที่
http://ta-lok.blogspot.com
แสดงความคิดเห็น